ยินดีต้อนรับสู่เว็บ หนังสือ “อานุภาพบำบัดโรค (Power of Healing)" มีสาระว่าด้วยเรื่องราวของการบำบัดรักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยวิธีการอื่นที่นอกเหนือไปจากวิธีการของแพทย์แผนปัจจุบัน

Tuesday, November 1, 2022

เชิญเข้าร่วมทีมของฉันบนTikTok : ผมเป็นกัปตันบน TikTok มาเข้าร่วมทีมกับผมสิ แล้วคุณอาจมีโอกาสได้เงินด้วยนะจ๊ะ คลิกลิงก์สมัครได้เลยจ้า

 

เชิญเข้าร่วมทีมของฉันบนTikTok :

ผมเป็นกัปตันบน TikTok มาเข้าร่วมทีมกับผมสิ แล้วคุณอาจมีโอกาสได้เงินด้วยนะจ๊ะ คลิกลิงก์สมัครได้เลยจ้า

https://bit.ly/3WowuWi

Thursday, September 22, 2022

อานุภาพบำบัดโรค บทที่ 4 ยาใดเล่าจะดีเท่าพลังใจ



อานุภาพบำบัดโรค 


บทที่ 4 ยาใดเล่าจะดีเท่าพลังใจ


มะเร็งหายเพราะกำลังใจ

 

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ที่แถบบอีสต์โคสต์(ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก)ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งถูกหมอตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งสมองระยะสุดท้าย หมอได้แจ้งให้พ่อแม่ของเด็กได้รู้ว่าไม่มีทางเยียวยารักษาให้หายได้แล้ว และเด็กจะต้องตายในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน

 

แต่ฝ่ายพ่อแม่ไม่ยอมชื่อคำวินิจฉัยของหมอจึงพาลูกชายไปที่ศูนย์ไบโอฟีดแบ็ค(Biofeedback) ของคลินิกแห่งหนึ่งชื่อ มาโยคลินิก ซึ่งตั้งอยู่ที่ดเมืองโรโซสเตอร์ มลรัฐมินนีโซตา

 

คลินิกที่ว่านี้มีชื่อเสียงทางด้านใช้วิธีการรักษาโรคแบบทางเลือกใหม่แทนวิธีการแบบของหมอแผนปัจจุบัน เมื่อเดินทางไปถึงเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของคลินิกแห่งนี้ก็ได้พูดจาหว่านล้อมเด็กว่ากำลังใจของเด็กเองอาจมีอิทธิพลเหนือโรคทางกายได้ และว่าเด็กอาจจะช่วยเหลือตัวเองให้หายจากโรคมะเร็งได้ด้วยวิธีการสร้างภาพจินตนาการให้เห็นก้อนเนื้อมะเร็งแล้วหาทางปราบปรามมันอีกทีหนึ่ง

 

ตอนแรกเมื่อได้ยินคำพูดจาหว่านล้อมเช่นนั้นเด็กแสดงท่าทีว่าไม่อยากจะทดลองทำตามคำแนะนำแต่อาศัยที่เป็นเด็กใจกล้าและเคยเล่นวีดิโอเกมส์มาอย่างช่ำชอง

 

ในที่สุดเด็กก็ตัดสินใจว่าจะทดลองสร้างภาพจินตนาการเป็นรู้เรือรบติดอาวุธจรวดออกลาดตระเวนอยู่รอบๆศีรษะของตนเองแล้วใช้จรวดทรงอานุภาพระดมเนื้อร้ายของมะเร็ง ซึ่งเด็กก็ได้สร้างภาพจินตนาการขึ้นมาเช่นเดียวกันว่ามันมีลักษณะเป็นก้อนใหญ่สีเทาๆ

 

เมื่อกลับไปถึงบ้านเด็กก็ได้ตั้งหน้าตั้งตาสำรวมจิตสร้างภาพจินตนานาการว่าเรือรบได้ระดมยิงจรวดไปที่ก้อนเนื้อมะเร็งนั้นทุกวัน ครั้นทำไปๆได้เพียงสองสามเดือนเท่านั้นเองเด็กก็บอกพ่อของเขาในวันหนึ่งว่า”ผมเพิ่งเอาเรือรบติดจรวดออกไปลาดตระเวนดูรอบๆหัวของผมมาแล้ว ปรากฏว่าไม่เจอก้อนเนื้อมะเร็งหลงเหลืออยู่เลย”

 

ฝ่ายพ่อแม่เมื่อได้ยินลูกพูดเช่นนั้นก็ไม่ได้เชื่อว่าเป็นความจริง ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อลูกขอร้องให้พาไปเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลเพื่อเป็นการพิสูจน์ พวกหมอก็กลับแนะนำว่าไม่ควรเอกซเรย์ให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

 

คำแนะนำของหมอเป็นการตอกย้ำให้พ่อแม่เด็กเชื่อว่าเนื้อร้ายของมะเร็งไม่มีวันหายไปได้อย่างเด็ดขาด แต่ฝ่ายเด็กนั้นนับตั้งแต่วันที่บอกพ่อเป็นต้นมาก็มีความรู้สึกว่าตนได้หายจากมะเร็งนั้นแล้ว จึงได้กลับไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนตามเดิมและก็มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงสามารถเล่นกีฬาประเภทหนักๆได้

 

ต่อมาเมื่อหมอคาดการณ์ว่าก้อนเนื้อร้ายมะเร็งคงจะทำลายมันสมองของเด็กจนพรุนไปหมดแล้ว จึงได้ให้พ่อแม่พาเด็กมาเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลด้วยเครื่องเอกซเรย์ประเภทสามมิติ

 

ผลจากการฉายเอกซเรย์ปรากฏว่า ในสมองของเด็กไม่มีเนื้อร้ายของมะเร็งหลงเหลืออยู่เลย มันหายไปโดยปราศจากร่องรอยได้อย่างประหลาด

 

เรื่องนี้เป็นตัวอย่างสำคัญที่รู้จักกันมากที่สุดตัวอย่างหนึ่งในหลายร้อยตัวอย่างตามที่ปรากฏอยู่ในตำราแพทย์แผนโบราณที่ใช้กรรมวิธีรักษาโรคด้วยทางเลือกใหม่นี้

 

นอกจากเรื่องของเด็กชายดังกล่าวข้างต้นแล้วก็ยังมีเรื่องราวของนางพยาบาลอีกผู้หนึ่งซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งและหมอแผนปัจจุบันก็บอกเช่นเดียวกันว่าหมดหวังที่จะเยียวยาใดๆได้แล้ว

 

แต่นางไม่ยอมเชื่อคำวินิจฉัยของหมอและได้ใช้วิธีการสร้างภาพจินตนาการเช่นเดียวกับเด็กคนนั้นซึ่งในที่สุดนางก็ได้หายจากโรคมะเร็งอีกเช่นกัน

 

ส่วยอีกหลายหนึ่งเป็นผู้ชายซึ่งหมอตรวจพบว่าเป็นมะเร็งที่ลำคอ เขาได้ใช้วิธีปรับความรู้สึกนึกคิดของตนเองที่มีต่อการรักษาโรคด้วยการฉายแสงให้มีความเชื่อมั่นว่าจะทำให้หายจากโรคมะเร็งได้ ผลปรากฏว่าชายผู้นี้ไม่เพียงแต่จะหายจากโรคมะเร็งที่ลำคอนั้นเท่านั้น แต่ยังหายจากโรคปวดข้อและโรคหมดสมรรถภาพทางเพศที่เป็นเรื้อรังมาช้านานถึง 20 ปีได้อีกด้วย

 

และผู้ป่วยอีกรายหนึ่งเป็นหญิงสามารถเอาชนะโรคหัวใจ โรคเลือดออกในลำไส้ โรคซึมเศร้าอันสืบเนื่องมาจากสามีเสียชีวิตตลอดจนโรคมะเร็งที่เต้านมและผนังทรวงอกได้ทั้งหมด เพียงเพราะได้กำลังใจจากคำพูดที่แม่เคยพร่ำบอกเธออยู่เสมอๆว่า”ลูกเป็นคนรูปร่างผอมบาง ไม่ว่าลูกจะเป็นโรคอะไร ลูกจะสามารถเอาชนะโรคนั้นๆได้ทุกโรค ลูกจะมีอายุยืนถึง 93 ปี และพออายุถึงช่วงนั้นแล้วลูกก็จะตายเพราะรถบดถนนทับเท่านั้น ไม่มีวันที่ลูกจะตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บใดๆได้เลย”

 

ตัวยาดีที่สุดคือพลังจิต


คราวนี้ก็อยากจะกลับไปพูดถึงประสบการณ์ของนายนอแมน คูซินส์ (Norman Cousins)นักเขียนและบรรณาธิการชาวอเมริกันอีกครั้งหนึ่ง คือนายนอร์แมนผู้นี้ได้ตีพิมพ์เรื่องราวการหายจากโรคไขข้ออักเสบตรงเนื้อเยื่อรอยต่อต่างๆในร่างกายของตนโยอ้างว่าที่หายได้นั้นเป็นเพราะความคิดในแง่ดีและความสัมพันธ์อันดีระหว่างหมอกับผู้ป่วย

 

หลังจากเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่แล้วนายนอร์แมนก็ได้รับจดหมายจำนวนมากมายจากหมอแผนปัจจุบันทั่วโลก แม้บางรายจะแสดงความเคลือบแคลงสงสัย แต่ส่วนใหญ่แล้วสนับสนุนบทสรุปของนายนอร์แมนที่ว่า จิตมีพลังอำนาจที่จะช่วยบำบัดโรคทางกายได้

 

และพวกหมอเหล่านี้ก็ยังแสดงความเห็นพ้องกับแนวคิดของนายนอร์แมนด้วยว่า ผู้ป่วยและหมอควรจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแสวงหาวิธีการรักษาโรคต่างๆ

 

นายนอร์แมนได้เขียนไว้ในเลาต่อมาว่า หมอเหล่านี้”ได้แสดงทัศนะออกมาว่า ไม่มีตัวยาชนิดใดๆที่หมอนำมาใช้กับผู้ป่วยจะมีประสิทธิผลในทางรักษาได้ดีเท่ากับสภาวะจิตของผู้ป่วยต่อโรคที่ตนเองเป็นอยู่นั้น

 

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งหมอเหล่านี้ได้กล่าวไว้ว่า บริการอันล้ำค่ายิ่งที่หมอควรจัดหาให้แก่ผู้ป่วยก็คือการช่วยผู้ป่วยให้มีศักยภาพในการฟื้นฟูและบำบัดรักษาโรคได้ด้วยตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้”

 

แนวความคิดที่ว่าจิตเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของกระบวนการรักษาโรคนี้ ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์แผนปัจจุบันเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง

 

หมอแผนปัจจุบันหลายต่อหลายคนซึ่งแต่เดิมไม่เชื่อว่าจิตจะมีอิทธิพลต่อหกระบวนการรักษาโรคได้นั้น เดี๋ยวนี้ก็ได้หันมาทบทวนแนวความคิดดั้งเดิมของพวกตนเสียใหม่แล้ว เนื่องจากมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างใหม่มาสนับสนุนนั่นเอง

 

อย่างเข่นในปัจจุบันได้มีนักวิจัยกำลังศึกษาค้าคว้าปรากฏการณ์หลากหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาโรค ซึ่งเริ่มตั้งแต่เรื่องเกี่ยวกับ”น้ำตาลเม็ด”ธรรมดาๆที่ไม่มีคุณสมบัติทางยาแต่สามารถรักษาโรคให้หายได้ ตลอดไปจนถึงเรื่องที่คนป่วยสามารถทำให้หัวใจเต้นช้างลงได้ด้วยพลังจิต เป็นต้น

 

นอกจากนี้แล้วก็ได้ศาสตร์แขนงใหม่เกิดขึ้นในโลกอีกแขนงหนึ่ง ศาสตร์แขนงนี้มีชื่อเรียกว่า “ไซโคนิวโรอิมมูโนโลยี(Psychoneuroimmunology)”อันเป็นศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์

 

ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เองที่เป็นปัจจัยชักนำให้นายแพทย์บางคนและสถาบันทางการแพทย์บางแห่งต้องหันเหเข้าหาแนวทางการรักษาโรคแบบที่เรียกว่า”โฮลิสติต(Holistic)” มากยิ่งขึ้น

 

กล่าวคือ เป็นแนวทางที่ถือว่าจิตละร่างกายเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ใช่สิ่งสองสิ่งที่แยกออกจากกัน และสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในปรัชญาแบบโฮลิสติคนี้ก็คือความเชื่อที่ว่าผู้ป่วยทั้งหลายจะต้องร่วมมืออย่างแข็งขันในการรักษาโรคของตัวเอง

 

โรคเดียวรักษาหลายวิธี

 

มีบางคนบอกว่าการรักษาโรคด้วยแนวทางแบบโฮลิสติคนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะวงการแพทย์ได้รู้จักความเกี่ยวโยงระหว่างจิตกับร่างกายนี้มาตั้งแต่สมัยของฮิปโปเครติสโน่นแล้วและพวกคนเหล่านี้ก็ได้อ้างถึงคำพูดของปรัชญาเมธีสมัยโบราณชื่อโสเครติสซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า”ไม่มีโรคทางกายชนิดใดที่แยกออกไปจากจิต”

 

นอกจากนี้แล้วพวกเขายังบอกด้วยว่า นับเป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่พวกหมอแผนปัจจุบันได้รักษาผู้ป่วยโดยยึดแนวความคิดที่ว่า เมื่อจะบำบัดรักษาคนจะต้องบำบัดรักษาหลายสิ่งหลายอย่างในตัวเขาไปพร้อมๆกัน

 

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหมอก็จะดำเนินการบำบัดทางยา แต่ในขณะเดียวกันหมอก็จะแนะนำให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และให้ลดความเครียดในสมองไปพร้อมๆกันด้วย

 

แต่ก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยบางคนได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า กระบวนการรักษาโรคตามแนวทางแบบโฮลิสติคนี้กำลังก้าวล้ำเส้นจมดิ่งลงสู่โลกมืดแห่งไสยศาสตร์ไปเสียแล้ว

 

หนึ่งในเสียงวิจารณ์นั้นก็คือบทความเรื่อง”Engineers, Cranks, Physicians, Magicians” ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารชื่อ New England Journal of Medicine ฉบับปี ค.ศ. 1983 ศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านปรัชญา 2 ท่าน คือ ศาสตราจารย์ ดัคลาส สทัคเกอร์ และศาสตราจารย์ คลาร์ค คลีเมอร์ ได้เขียมโจมตีระบบการรักษาโรคแบบโฮลิสติคนี้ว่า”เป็นแนวความคิดที่ไร้เดียงสาและเหลวไหลของพวกหมอเถื่อนที่ไปติดยึดกับลัทธิไสยศาสตร์และทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งที่มีเหตุผล”

 

พวกที่ปฏิเสธแนวความคิดของพวกโฮลิสติคเหล่านี้จะเรียกแนวทางรักษาโรคแบบนี้ว่า”ทางเลือกอีกทางหนึ่ง”บ้าง “แนวทางนอกรีตนอกรอย”บ้าง และบอกว่าพวกที่ยึดแนวทางประเภทนี้เคยมีมาแล้วตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นพวกที่ทำการปฏิวัติต่อต้านวิธีการรักษาโรคต่างๆที่พวกหมอแผนปัจจุบันในสมัยนี้ยึดถือเป็นมาตรฐาน เช่น การถ่ายเลือด การล้างท้อง และการย่างด้วยไฟ เป็นต้น

 

เมื่อ”พวกนอกรีตนอกรอย”เหล่านี้ได้ปฏิเสธแนวทางรักษาโรคของหมอแผนปัจจุบันด้วยเห็นว่าเป็นแนวทางที่โหดร้ายทารุณต่อผู้เจ็บป่วยเกินไปแล้ว ก็ได้ประดิษฐ์คิดค้นวิธีการรักษาโรคแบบใหม่ของตนขึ้นมา ซึ่งเป็นวิธีการที่ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ผิดหลักวิชาเชิงประจักษ์ที่ว่า”สิ่งใดใช้ได้ผลครั้งหนึ่งแล้ว สิ่งนั้นก็จะใช้ได้ผลตลอดกาล”

 

พวกนักวิจารณ์ได้ยกอุทาหรณ์ของความเชื่อแบบนี้จากกรณีของนายคาร์ล บูนไชด์ นักธุรกิจชาวเยอรมันซึ่งป่วยเป็นโรคปวดข้อมือเรื้อรังมานาน

 

เรื่องจองเรื่องก็คือบ่ายวันหนึ่งในปี ค.ศ. 1848 ข้อมือของนายคาร์ล บูนไขด์ข้างที่ปวดอยู่นั้นถูกตัวต่อต่อยเข้าอย่างจัง หลังจากนั้นปรากฏว่าอาการปวดที่ข้อมือของเขาหายไปสิ้น

 

นายคาร์ล บูนไชด์มีความมั่นใจว่าเขาได้พบวิธีการรักษาโรคแบบใหม่เข้าให้แล้วจึงได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือชนิดหนึ่งขึ้นมา เครื่องมือที่ว่านี้มีรูปร่างเหมือนตัวต่อ เขาเรียกชื่อเครื่องมือนี้ว่า”Great Resuscitator”

 

ที่ปลายหางของเครื่องมือที่ว่านี้มีเข็มยาวขนาดสองนิ้วติดเอาไว้เสมือนหนึ่งว่าเป็นเหล็กในของตัวต่อ แล้วใช้เข็มนี้แทงลงที่ผิวหนังของผู้ป่วยเพื่อให้สิ่งมีพิษและสิ่งที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดในร่างกายของผู้ป่วยไหลออกมาพร้อมกับเลือด

 

ครั้นอีกร้อยปีต่อมาการรักษาโรคที่อิงอาศัยธรรมชาติก็ได้เป็นที่นิยมกันมากยิ่งขึ้น โยเฉพาะอย่างยิ่งคือวิธีการที่เรียกว่า “โฮมีโอพาที(Homeopathy)” ซึ่งก็เป็นการรักษาโรคแก่ผู้ป่วยโยอาศัยยากลางบ้านที่ทำมาจากสมุนไพร ตัวสัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ

 

พวกหมอที่ยึดถือแนวโฮมีโอพาทีก็ได้อ้างเช่นเดียวกับหมอประเภทอื่นๆว่า วิธีการของตนสามารถรักษาโรคได้หลากหลายชนิด ในหนังสือชื่อ The Homeopathist, or Domestic Physicians หมอที่เมืองฟิลาเดลเฟียผู้หนึ่งชื่อ คอนสแตนติน เฮอริง ได้เขียนแจกแจงถึงวิธีการรักษาโรคตามแนวโฮมิโอพาทีไว้อย่างละเอียดลออเลยทีเดียว

 

นอกจากนี้แล้วก็ยังปรากฏว่ามีวิธีการรักษาโรคแบบทางเลือกใหม่ๆอีกหลายอย่าง เช่น วิธีที่เรียกว่า “ไฮโดรพาที(Hydropathy)” อันเป็นการใช้น้ำรักษาโรค วิธีนี้เป็นที่นิยมของคนในสมัยนั้นมาก และแม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังมีผู้นิยมเสื่อมใสกระทำกันอยู่ในส่วนต่างๆทั่วโลก

 

ส่วนที่แตกแยกออกไปจากพวกไฮโดรพาทีก็ได้แก่พวกที่ยึดแนวที่เรียกว่า”ไฮจิโอทีรัปปี(Hygeiotherapy)” พวกนี้ถือว่าสุขศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญรองลงมาจากศรัทธาในพระเจ้า และถือว่านอกเหนือจากน้ำแล้ว ความสะอาด อาหาร การออกกำลังกาย และอากาศบริสุทธิ์ล้วนแต่เป็นสิ่งสามารถใช้บำบัดโรคได้ทั้งสิ้น

 

แต่พวกนักวิจารณ์ประเภท”ลูกอีช่างค้าน” ก็ยังไมวายที่จะค่อนแคะว่า ในการรักษาโรคตามแนวความคิดที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ทราบผลได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นต้นเค้าที่พวกโฮลิสติคในยุคปัจจุบันนำมาใช้ และเพราะฉะนั้นพวกโฮลิสติคจึงเป็นพวกที่ดำเนินการรักษาโรคด้วยแนวทางที่มักง่าย และขาดเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ตามพวกนั้นไปด้วย

 

แต่ถึงจะวิจารณ์กันไปอย่างไรกระบวนการรักษาโรคด้วยวิธีโฮลิสติคนี้ก็มีประเด็นที่น่าสนใจอีกมากมาย เมื่อได้ติดตามอ่านไปแล้วท่านก็จะรู้สึกทึ่งจนหัวเราะเยาะไม่ออกเลยทีเดียว

 

จิตบงการร่างกาย

 

หากลองย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ดูบ้างก็จะพบว่า แม้ในยุคนั้นเองก็ได้มีการใช้เทคนิคการรักษาโรคด้วยวิธีให้”จิตบงการเหนือร่างกาย”ในหมู่ของพวกหมอแผนโบราณกันมาแล้ว

 

และหนึ่งในหมอที่ใช้เทคนิคที่ว่านี้คือนักเล่นแร่แปรธาตุชาวสวิสชื่อ บอมบาสต์ ฟอนโฮเฮ้นไฮม์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า พาราเซลซุส(Paracelsus)

 

หมอพาราเซลซุสมีผู้ป่วยสำคัญอยู่คนหนึ่งชื่อ โจฮันน์ ฟรอเบ็น เป็นนักปราชญ์และนักเขียนชื่อดังและมีเพื่อนฝูงเป็นคนใหญ่คนโตอยู่หลายคน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็คืออีราสมุสนักเทววิทยาและนักสิทธิสมุษยชนชาวดัตช์

 

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่าเมื่อ ค.ศ. 1527 นายโจฮันน์ ฟรอเบ็นป่วยหนัก ขาข้างหนึ่งของเขาเกิดอาการอักเสบร้ายแรงเดินไปไหนมาไหนไม่ได้เลยได้แต่นอนแซ่วอยู่ในบ้านที่เมืองบาเซลประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 

นายโจฮันน์เคยเชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจดูอาการแล้วถึง 8 คน หมอทั้ง 8 คนนั้นบอกนายโจฮันน์ว่าหากเขาต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไปก็จะต้องให้หมอตัดขาข้างนั้นทิ้งเสีย

 

เมื่อนายโจฮันน์รู้ตัวว่าจะต้องถูกตัดขาก็เกิดความรู้สึกสลดหดหู่ในเป็นกำลังเพราะเขาขอบปีนภูเขาเป็นชีวิตจิตใจ หากถูกตัดขาข้างหนึ่งทิ้งเสียแล้วคนมีขาข้างเดียวอย่างเขาจะหาความสุขจากการปีนเขาได้อย่างไร

 

ในขณะที่กำลังวิตกกังวลในชะตาชีวิตของตนอยู่นั้นนายโจฮันน์เผอิญได้ข่าวเกี่ยวกับหมอพาราเซลซุสว่าเป็นหมอมีความเก่งกาจสามารถรักษาโรคแก่ผู้ป่วยด้วยกรรมวิธี”ทางใน” โดยไม่ใช้วิธีผ่าตัดเหมือนหมอคนอื่นๆ

 

ก็เกิดความเลื่อมใสจึงรีบเขียนจดหมายแล้วส่งคนถือจดหมายฉบับนั้นไปให้หมอพาราเซลซุส ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่เมืองสตราบูก จดหมายฉบับนั้นได้ขอเชิญให้พ่อหมอมารักษาดูบ้าง

 

เมื่อได้อ่านจดหมายฉบับนั้นแล้วหมอพาราเซลซุสก็ตกลงใจจะมาลองรักษานายโจฮันน์ทันที เขาได้รีบขึ้นม้าแล้วเดินทางรอนแรมมาถึงสองวันสองคืน สิ้นระยะทาง 70 ไมล์ ก็ได้มาถึงบ้านของนายโจฮันน์โดยสวัสดิภาพ

 

และเมื่อลงจากหลังม้าแล้วก็เดินตรงลิ่วเข้าไปในห้องที่นายโจฮันน์นอนป่วยอยู่นั้น ก็ได้พบว่านายโจฮันน์กำลังปวดขาอยู่อย่างหนัก

 

หลังจากที่ได้ตรวจอาการที่ขาของผู้ป่วยแล้วหมอพาราเซลซุสก็ได้วินิจฉัยว่า อาการของนายโจฮันน์หนักมาก แต่ก็ยังมีทางช่วยให้ไม่ต้องตัดขาทิ้ง แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยคือนายโจฮันน์จะต้องให้ความร่วมมือในการบำบัดรักษาอย่างเต็มที่ กล่าวคือ จะต้องรักษาทั่วทั้งร่างกายไม่ใช่รักษาเฉพาะจุดอักเสบที่ขาเท่านั้น

 

หลังจากที่หมอพาราเซลซุสอธิบายถึงกรรมวิธีรักษาที่ค่อนข้างจะพิลึกพิลั่นนั้นแล้วนายโจฮันน์ได้แสดงท่าทีว่าไม่มีความมั่นใจ หมอพาราเซลซุสจึงถามขึ้นว่า “คุณต้องการมีขาอยู่ต่อไปมากขนาดไหน” “มากเท่ากับลมหายใจเลยครับหมอ” นายโจฮันน์ตอบ และในที่สุดผู้ป่วยก็ตกลงว่าจะปฏิบัติตามคำแนะนำของพ่อหมอทุกประการ

 

หมอพาราเซลซุสเริ่มต้นกระบวนการรักษาโรคของเขาด้วยการให้เคลื่อนย้ายนายโจฮันน์ลงจากเตียงที่ปูลาดด้วยฟูกนุ่มๆให้มานอนบนเสื่อฟางที่พื้นห้อง สั่งพ่อครัวให้งดปรุงอาหารประเภทที่มีไขมันมากๆตลอดจนงดเสิร์ฟเหล้าไวน์แก่เจ้านายโดยเด็ดขาด

 

ทั้งได้กำชับให้ผู้ป่วยรับประทานเฉพาะอาหารประเภทที่ไม่มีไขมันเท่านั้นและให้ดื่มน้ำซุป น้ำผลไม้และน้ำชาสมุนไพรให้มากๆ

 

ส่วนในการบำบัดทางยานั้นหมอพาราเซลซุสก็ได้อายาชนิดหนึ่งมาทาบริเวณที่เกิดการอักสบที่ขาพร้อมกับได้แนะนำให้ผู้ป่วยบีบนวดตัวเองและออกกำลังกล้ามเนื้อขาเบาๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นพลังชีวิตให้ไหลกลับคืนสู่ขา

 

นอกจากนั้นแล้วหมอพาราเซลซุสก็ยังได้แนะนำให้พาผู้ป่วยออกไปนอกบ้านทุกวันเพื่อจะได้รับอากาศบริสุทธิ์และรับแสงอาทิตย์

 

หมอพาราเซลซุสได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ของเขาเพื่อช่วยปรับท่าทีทางจิตใจให้แก่ผู้ป่วย เมื่อใดก็ตามที่นายโจฮันน์เริ่มตั้งข้อสงสัยในความสำเร็จของการรักษาในครั้งนี้ หมอพาราเซลซุสก็จะเทผงลี้ลับชนิดหนึ่งออกมาจากด้ามมีดขอเขาแล้วผสม”ยา”นี้ลงไปในแก้วน้ำนำเอาไปให้นายโจฮันน์ดื่ม

 

ถึงแม้ยานี้จะไม่มีรสหรือกลิ่นใดๆแต่เมื่อนายโจฮันน์ดื่มเข้าไปก็เกิดผลทำให้ร่างกายและจิตใจกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทุกทีไป

 

นอกจากนั้นแล้วหมอพาราเซลซุลก็ยังได้ไปจ้างนักร้องและนักดนตรีพื้นเมืองมาขับร้องและเล่นพิณให้นายโจฮันน์ฟังทุกวัน ทั้งนี้เพื่อให้เขาเกิดความเพลิดเพลินใจจนลืมนึกถึงอาการเจ็บป่วยของตนเองไปได้

 

เมื่อผ่านไปได้ 5 วันอาการของนายโจฮันน์ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีอะไรดีขึ้นมาเลย ชาวเมืองบาเซลที่ติดตามข่าวคราวชะตากรรมของเขาอยู่อย่างใกล้ชิดก็พากันซุบซิบนินทากันว่าเขาได้ตกอยู่ในเงื้อมมือของหมอกำมะลอเข้าให้แล้ว อย่างไรเสียเห็นที่จะไม่รอดชีวิตแน่

 

แต่พอถึงวันที่ 7 ขาของนายโจฮันน์ก็มีอาการดีขึ้มาอย่างเห็นได้ชัด คือ จากที่เคยเคลื่อนไหวไม่ไดเลยมาหลลายสัปดาห์ ก็สามารถยกลงวางบนพื้นห้องได้ทั้งขาโดยไม่มีอาการเจ็บปวดแม้แต่น้อย

 

ครั้นตกถึงวันที่ 13 นายโจฮันน์สามารถเดินเล่นในสวนของเขาได้ด้วยอาศัยไม้ยันรักแร้ และเขาได้บอกกับเพื่อนฝูงที่พากันตกตะลึงว่า กระบวนการรักษาโรคของหมอพาราเซลซุสไม่เพียงแต่รักษาขาของเขาให้หายได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้สุขภาพร่างกายของเขามีความกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยเจอมาเลยในชีวิต

 

ด้วยแรงสนับสนุนชี้แนะของนายโจฮันน์ ฟรอเบ็นและนายอีราสมุส ต่อมาอีกไม่นานหมอพาราเซลซุสก็ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเป็นแพทย์ประจำเมืองบาเซล และเป็นศาสตราจารย์ทางด้านแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบาเซลไปพร้อมๆกัน

 

แต่เขาอยู่ในตำแหน่งทั้งสองนี้ได้ไม่นานทั้งนี้เนื่องจากว่าเขามีแนวความคิดแปลกใหม่และมีนิสัยพูดจาโผงผางแบบขวานผ่าซาก ไม่เกรงออกเกรงใจใคร ทำให้เป็นที่ชิงขังของพวกหมอคนอื่นๆและได้ถูกบีบบังคับให้เดินทางออกจากเมืองบาเซลในที่สุด


มื่อออกจากเมืองบาเซ,มาแล้วหมอพาราเซลซุสก็ได้เดินทางท่องเที่ยวไปรักษษโรคตามเมืองต่างๆสุดแท้แต่ใครจะเชิญไป คนที่เขารักษษให้มีทั้งพระและเจ้าชาย ที่เป็นพระมีจำนวนหลายร้อยรูป ส่วนที่เป็นเจ้าชายก็มีไม่น้อยกว่า 18 องค์

 

กระบวนการรักษาโรคด้วยกรรมวิธีที่แปลกและแหวกแนวจากหมอคนอื่นๆได้นำชื่อเสียงและเกียรติภูมิมาสู่หมอพาราเซลซุส แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสื่อนำความตายก่อนวัยอันสำควรมาให้เขาด้วย

 

หมอพาราเซลซุสเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1541 เมื่ออายุเพียง 48 ปี สาเหตุแห่งการเสียชีวิตของเขายังอึมครึมไม่แน่ชัด แต่มีบางเสียงบอกว่าเขาถูกสังหารด้วยน้ำมือของฆาตกรที่หมอฝ่ายตรงข้ามจ้างมาฆ่า

 

นักประวัติศาสตร์การแพทย์หลายคนบอกว่า ที่หมอพาราเซลซุสประสบความสำเร็จในการรักษาโรคได้นั้นก็เนื่องมาจากหมอผู้นี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจว่าเขาสามารถรักษาเยียวยาโรคภัยไข้เจ็บให้หายได้

 

นักประวัติศาสตร์การแพทย์เหล่านี้ยังได้แนะด้วยว่า ผงลี้ลับจากด้ามดาบของหมอพาราเซลซุสนั้นที่จริงแล้วก็คือสิ่งที่เรียกว่ายา”เม็ดน้ำตาล”ชนิดหนึ่งของคนในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 นั่นเอง

 

ซึ่งยาเม็ดน้ำตาลที่ว่านี้เป็นสารอะไรก็ได้ที่ไม่มีคุณสมบัติทางยา และก็ไม่สามารถแสดงผลในทางรักษาโรคใดๆด้วยตัวของมันเองโดยลำพังได้

 

แต่มันกลับกลายเป็นสิ่งมีอานุภาพสามารถรักษาโรคขึ้นมาได้นั้นก็เพราะผู้ป่วยเกิดความคาดหวังว่ามันเป็นยาวิเศษนั่นเอง

 

อานุภาพของพลาซีโบ

 

สารเม็ดน้ำตาลดังกล่าวข้างต้น ปัจจุบันนี้เรียกว่า”พลาซีโบ”(Placebo) แปลความตามตัวอักษรได้ว่า”ข้าพเจ้าจะเอาใจ( I shall please)

 

ครั้งหนึ่งนักวิจัยทางการแพทย์ผู้หนึ่งได้พบว่า ยาพลาซีโบมีผลทางการรักษาโรค และเป็นกรรมวิธีรักษาที่ไม่เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด

 

หลังจากนั้นมาจวบจนถึงปัจจุบันได้มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนสนใจศึกษาเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นเมื่อเร็วๆนี้นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆนับตั้งแต่โรคคลื่นไส้ไปจนถึงโรคหวัด เมื่อได้รับการบำบัดด้วยยาพลาซีโบนี้แล้ว อาการเจ็บป่วยก็บรรเทาลง หรือไม่ก็หายขาดจากโรคนั้นไปเลย

 

ต่อมาไม่นานนายแพทย์เฮอร์เบิร์ต เบ็นสัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจแห่งวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจชนิดที่เรียกว่า”แอนไจนา เพ็คโทริส(มีอาการเสียดแทงหน้าอกเบื้องซ้ายเพราะเส้นโลหิตตีบ” โดยวิธีรวบรวมผลจากการสำรวจผู้ป่วยรวม 13 ครั้งและใช้เวลาศึกษาอยู่ถึง 40 ปี

 

เขาก็ได้พบว่า ในจำนวนผู้ป่วย 1,187 รายซึ่งเป็นโรคนี้และได้รับการบำบัดด้วยยาพลาซีโบ ปรากฏว่า 82 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเหล่านี้มีอาการดีขึ้นมาก ซ้ำยังสามารถใช้เครื่องมือทางการแพทย์ตรวจสอบพบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วยเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

 

คำถามก็คือเพราะเหตุใดยาพลาซีโบจึงแสดงผลทางการรักษาโรคได้อย่างมหัศจรรย์? ข้อนี้ยังเป็นเรื่องลี้ลับอยู่ต่อไป แต่จากผลของการทดลองปรากฏว่า ยาพลาซีโบก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยแปลงด้านสรีระร่างกายของผู้ป่วยได้

 

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อใช้สีย้อมผ้าธรรมดาๆที่ไม่มีคุณสมบัติทางรักษาโรคใดๆทาลงไปที่หัวหูดแล้วบอกผู้ป่วยว่าเป็นยาสามารถรักษาหูดได้

 

ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดขึ้นที่ผิวหนังตรงนั้นของผู้ป่วย ซึ่งก็ช่วยไปต่อต้านเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดหัวหูดนั้นได้

 

นอกจากนี้แล้วยาพลาซีโบก็ยังสามารถช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกิดการฉีกขาดได้อีกเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น แผลเปื้อยประเภท”เพ็ปติค” ที่บริเวณช่องท้องหรือส่วนบนของลำไส้เล็ก เป็นต้น

 

จากการศึกษาของ ดร.เจรอม แฟรงค์ จิตแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยตอห์น ฮอปกินส์ได้พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคแผลเปื่อยประเภทเพ็ปติคที่มีเลือดไหลออกมาที่ลำไส้เล็ก

 

เมื่อได้รับการบำบัดด้วยวิธีฉีดน้ำกลั่นธรรมดาเข้าไปแต่บอกแก่ผู้ป่วยไปว่าเป็นยาขนานใหม่ที่สามารถให้การรักษาโรคชนิดนี้ได้ ผลปรากฏว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเหล่านั้นมีอาการดีขึ้นมาอย่างมากตลอดระยะเวลา 1 ปี

 

ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกฉีดด้วยน้ำกลั่นชนิดเดียวแต่บอกผู้ป่วยว่าเป็นการฉีดตัวยาทดลองชนิดหนึ่งเท่านั้น ซึ่งก็ปรากฏว่าผู้ป่วยในกลุ่มเพียง 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองที่มีอาการดีขึ้น

จากผลของการศึกษาเรื่องแผลในลำไส้ดังกล่าวมาสามารถตีความได้ว่ายาพลาซีโบเกิดผลในทางรักษาโรคขึ้นมาได้เพราะอาศัยการชี้นำของหมอเป็นตัวแปรสำคัญ

 

นักวิจัยบอกว่ายาพลาซีโบที่หมอฉีดให้แก่ผู้ป่วยพร้อมๆกับที่หมอได้พูดชี้นำไปนั้น ได้ทำให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลลงไป ซึ่งมันก็จะไปช่วยลดการหลั่งของกรดที่ท้องอันเป็นเหตุของแผลเปื่อยนั้นได้

 

อย่างไรก็ดียาพลาซีโบก็ไม่ได้ส่งผลดีแก่คนป่วยเสมอไป ตัวอย่างเช่น กรณีคนป่วยที่กลัวยาและไม่ไว้ใจหมอ หลังจากที่รับยาพลาซีโบเข้าไปในร่างกายแล้วก็มักจะเกิดอาการคลื่นไส้เกิดผดผื่นคันหรือปฏิกิริยาทางสรีระร่างกายอย่างอื่นๆเหมือนกับว่าผู้ป่วยมีปฏิกิริยาต่อค้าน”ยา”จริงๆ

 

พลานุภาพของพลาซีโบที่มีต่อผู้ป่วยมัวอย่างปรากฏให้เห็นอย่างดื่นดาษ แต่ที่เห็นชัดและมักจะถูกชักมาเป็นอุทาหรณ์เสอๆ คือเรื่องของชายคนหนึ่งซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลือง ดร.เบอร์นาร์ด เอส. ซีเกล ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลนิวฮาเวลแห่งมหาวิทยาเยล ได้เล่าถึงคนป่วยรายนี้ไว้ในหนังสือชื่อ Love Medicine & Miracle ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1986

 

โดย ดร.เบอร์นาร์ด ระบุชื่อผู้ป่วยว่า “มร.ไรท์” เมื่อตอนหมอรับตัวเข้าโรงพยาบาลนั้น มร.ไรท์มีอาการหนักมาก มีก้อนเนื้อมะเร็งขนาดเท่าผลส้มปรากฏอยู่ตามคอ รักแท้ ไข่ดัน หน้าอกและท้อง เวลาหายใจต้องใช้หน้ากากออกซิเจนเข้าช่วย ม้ามและตับของเขาก็บวมโตมามาก ส่วนท่อน้ำเหลืองที่บริเวณทรวงอกก็ขยายพองขึ้น ต้องคอยสูบน้ำสีขาวๆออกจากบริเวณทรวงอกครั้งละแก้วสองแก้วอยู่ทุกวัน เรียกว่า มร.ไรท์มีอาการสาหัสสากรรจ์และต้องตายแน่ๆ

 

ขณะที่ มร.ไรท์กำลังนอนรอความตายอยู่นั่นเอง เขาเผอิญได้ยินว่ามีตัวยาต้านมะเร็งชนิดใหม่ที่ให้ผลทางการรักษาอย่างชะงัดและกำลังจะนำมาใช้ทดลองในโรงพยาบาล

 

ตัวยาที่ว่านี้มีชื่อเรียกว่า”ครีไบโอเซ็น(Krebiozen)”  มร.ไรท์จึงได้อ้อนวอนหมอให้ใช้ยาขนานนี้รักษามะเร็งให้เขา แต่ทว่ายาตัวนี้กำหนดให้ใช้กับผู้ป่วยที่หมอคาดว่าจะตายภายใน 3-6 เดือนเท่านั้น

 

สำหรับกรณีของ มร.ไรท์หมอคาดว่าจะตายเร็วกว่านั้นจึงไม่เข้าข่ายที่หมอจะนำยานี้มาใช้ได้ แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่หมอไตร่ตรองพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วก็ได้ตัดสินใจที่จะใช้ยานี้ตามความประสงค์ของ มร.ไรท์หมอได้เริ่มฉีดยาครีไบโอเซ็นให้แก่ มร.ไรท์ในวันศุกร์แล้วก็กลับบ้าน

 

เมื่อหมอกลับเข้ามาโรงพยาบาลในวันจันทร์ถัดมาแทนที่จะเห็นอาการของเขาทรุดหนักเหมือนในช่วงเสาร์-อาทิตย์ตามที่คาดการณ์เอาไว้ หมอก็แทบจะไม่เชื่อสายตาของตนเอง เมื่อได้แลเห็นผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งในระยะสุดท้ายกำลังหน้าบานระรื่นเดินพูดหลอกล้อกับพวกนางพยาบาลในแผนก

 

และเมื่อพาตัวผู้ป่วยไปตรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วนหมอก็ได้พบกับสิ่งที่น่าทึ่งยิ่งไปกว่านั้น คือได้เห็นก้อนเนื้อมะเร็งตามจุดต่างๆในร่างกายของผู้ป่วยมีขนาดเล็กลงจากเดิมครึ่งหนึ่ง

 

อีกสองสัปดาห์ต่อมาหลังจากที่ฉีดยาชนิดเดียวกันนั้นให้ มร.ไรท์ไปแล้วก็ปรากฏว่างกายของ มร.ไรท์ปลอดจากอาการของโรคมะเร็งโนสิ้นเชิง มร.ไรท์จึงได้รับอนุญาตให้กลับบ้าได้เสมือนหนึ่งว่าเขาได้รับการบำบัดให้หายจากโรคมะเร็งนั้นไปแล้ว

 

อีกสองเดือนถัดมา มร.ไรท์ก็ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ แต่พอมีรายงานข่าวซึ่งตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของการักษาโรคมะเร็งด้วยยาครีไอโอเซ็นปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่ครึกโครม เท่านั้นเอง มร.ไรท์ก็มีอาการทรุดหนักและตามเนื้อตัวก็มีก้อนมะเร็งกลับมาปรากฏอีกครั้งหนึ่ง

 

ด้วยความสงสัยว่าที่ มร.ไรท์มีอาการดีขึ้นแล้วกลับทรุดหนักลงไปอีกเช่นนี้อาจจะเป็นผลทางพลาซีโบก็ได้ หมอจึงได้เริ่มพูดจาเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ มร.ไรท์ว่า ยาครีไบโอเซ็นใช้รักษาโรคมะเร็งได้ผลจริงๆและได้บอกไมให้เขาเชื่อข่าวตามที่ปรากฏทางสื่อมวลชนต่างๆ

 

นอกจากนั้นแล้วหมอก็ได้อธิบายให้ มร.ไรท์ ฟังด้วยว่า ยาครีไบโอเซ็นที่โรงพยาบาลได้รับมาในคราวก่อนซึ่งเอามาใช้กับ มร.ไรท์นั้นถูกเก็บไว้ไม่ดีเลยทำให้ประสิทธิผลในทางรักษาลดน้อยลงไป แต่ที่จะส่งมาถึงโรงพยาบาลในวันพรุ่งนี้เป็นชนิดที่มีประสิทธิผลทางการรักษาเพิ่มเป็นสองเท่าตัว

 

เมื่อได้ฟังหมอพูดเช่นนี้แล้ว มร.ไรท์ก็เกิดความหวังขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งและเขาก็ตั้งตารอคอยยาครีไบโอเซ็นที่จะส่งมาด้วยความกระวนกระวาย

 

พอถึงวันรุ่งขึ้นหมอก็ได้กระจายข่าวลวงไปทั่วโรงพยาบาลว่ายามาถึงแล้ว จากนั้นก็นำไปฉีดให้แก่ มร.ไรท์เป็นเข็มแรก แต่สิ่งที่ฉีดไปครั้งนี้ไม่ใช่ยาครีไบโอเซ็นหากแต่เป็นน้ำกลั่นธรรมดา ซึ่งเรื่องนี้เป็นความลับที่ มร.ไรท์ไม่ได้ล่วงรู้

 

ผลปรากฏว่าคราวนี้อาการของมะเร็งหายดียิ่งกว่าเก่าเสียอีก ก้อนเนื้อมะเร็งตามร่างกายได้หายไปหมด และอีกสองสามวันต่อมา มร.ไรท์ก็ได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ ในช่วงกว่าสองเดือนถัดมาร่างกายของ มร.ไรท์ไม่มีอาการของมะเร็งเหลืออยู่เลย

 

แต่พอครั้นสมาคมแพทย์อเมริกันได้ออกแถลงการณ์ถึงผลการวิจัยยาครีไบโอเซ็น โดยได้บอกว่าเป็นยาที่ไม่มีผลทางการรักษาโรคมะเร็งใดๆ

 

คราวนี้ศรัทธาที่ มร.ไรท์ที่มีตัวยาครีโอไบโอเซ็นก็มีอันพังทลายหมดสิ้น อาการของมะเร็งฟื้นคืนมาอย่างทันควัน และหมอก็ได้รับตัวเข้าโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้อยู่ได้ 2 วัน มร.ไรท์ก็เสียชีวิต

 

โรคที่เกิดจากใจต้องรักษาด้วยใจ

 

ยาพลาซีโบจะมีผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อทางจิตสำนึกของคนป่วยว่าตนกำลังได้รับการบำบัดรักษาด้วยกรรมวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะส่งผลให้หายจากโรคนั้นๆได้

 

กระนั้นก็ตามใต้สำนึกซึ่งโดยปกติไม่มีทางติดต่อได้โดยตรงก็อาจจะมีอิทธิพลเหนือสุขภาพร่างกายของคนเราได้อีกเช่นเดียวกัน ดังที่ปรากฏอยู่ในรายงานผลการโรคประเภท”ไซโคโซมาติค”ที่จะนำเสนอต่อไปนี้

 

โรคประเภทไซโคโซมาติค (Psychosomatic) ได้แก่ โรคที่มีสมุฏฐานหรือได้รับอิทธิพลมาจากจิต โรคที่ว่านี้โดยปกติแล้วจะมีสาเหตุมาจากอารมณ์เครียดอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าโรคประเภทนี้จะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในเสมอไป เพราะอาจแสดงอาการออกมาให้เป็นที่ปรากฏได้ เช่น เกิดความดันโลหิตสูง เกิดผดผื่นคันตามผิวหนัง และเกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น

 

อย่างไรก็ดีโรคประเภทไซโคโซมาติคมีข้อแตกต่างจากประเภทอื่นๆตรงที่จะไม่มีสมุฏฐานจากร่างกายโดยตรง เช่นเกิดจากเชื้อไวรัส หรือเกิดจากอาการบาดเจ็บทางร่างกาย เป็นต้น

 

นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า โรคประเภทไซโคโซมาติคนี่มีความความเกี่ยวโยงกับปฏิกิริยา”ต่อสู้หรือหลบหนี” ที่ติดตัวมาตั้งแต่ปางบรรพ์ กล่าวคือ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นกับสัตว์ทุกประเภทเมื่อเผชิญกับภยันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

ปฏิกิริยาที่ว่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเป็นเครื่องกระตุ้นทำให้ร่างกายเกิดมีพละกำลังขึ้นมาอย่างมหาศาล เพื่อเตรียมการต่อสู้หรือหลบหนีจากสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

 

ปฏิกิริยา”ต่อสู้หรือหลบหนี”นี้มีลักษณะพิเศษคือจะเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นแรงประสาทต่างๆมีความไวต่อการรับรู้และคมชัดมากกว่าปกติ ตลอดจนร่างกายจะผลิตฮอร์โมน ประเภท”เอ็ดเร็นนะลิน”ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นชนิดหนึ่งออกมา

 

สำหรับคนในสมัยโบราณเหตุการณ์หรือภาวะวิกฤติสำคัญๆที่จะเป็นการไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา”ต่อสู้หรือหลบหนี”นี้จะเป็นเรื่องของการถูกคุกคามจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่และปฏิกิริยาที่ว่านี้จะหายไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้ดำเนินการเด็ดขาดอย่างไรอย่างหนึ่งลงไปแล้ว เช่น หลบหนีจากสัตว์ร้าย หรือรีบหาที่กำลังเมื่อเผชิญหน้ากับพายุ หลังจากรอดพ้นจากภยันตรายนั้นๆแล้ว ระบบการทำงานร่างกายก็จะกลับคืนสู่สภาวะปกติได้ในช้า

 

แต่สำหรับคนในยุคปัจจุบันเหตุการณ์หรือภาวะที่ก่อให้เกิดความเครียดส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องที่เกิดจากอารมณ์ภายในที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างเด็ดขาด และปล่อยให้หมักหมมค้างคาอยู่อย่างนั้น

 

ตัวการที่ก่อให้เกิดความเครียดได้อย่างหนึ่ง ก็คือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันซึ่งก่อให้เกิดความโกรธและความหงุดหงิดใจ เช่น ทำกุญแจรถหายหรือเผชิญกับสภาพรถติดเมื่อขับรถไปทำงาน หรืออาจจะเป็นวิกฤติการณ์สำคัญๆในชีวิต เช่น เกิดการหย่าร้าง หรือคนรักเสียชีวิต เป็นต้น

 

เรื่องที่มากระตุ้นให้เกิดความเครียดนั้นโดยลำพังตัวของมันเองไม่ได้มีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายของคนเราเลย แต่ที่เกิดมีผลต่อร่างกายก็เพราะปฏิกิริยาทางจิตใจที่เรามีต่อเรื่องนั้นๆหากคนเรารู้จักจัดการกับสิ่งที่มากระตุ้นในทางที่ถูกต้องเหมาะสม

 

เช่น ทำให้ใจยอมรับว่าการมาถึงที่ทำงานสายเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หรือยอมรับต่อความจริงว่าทุกคนต้องตายไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้เช่นนี้แล้ว ร่างกายก็จะกลับคืนสู่สภาวะสมดุลดังเดิม แต่ถ้าปัญหาในจิตใจนั้นๆยังถูกปล่อยให้ค้างคาไม่ได้รับการแก้ไขอยู่ต่อไป

 

ปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อปัญหานั้นๆก็จะหมักหมมอยู่อย่างนั้น ทำให้เกิดความกระวนกระวายใจ ความเคร่งเครียด ความสิ้นหวัง และความซึมเศร้า อาการทางจิตใจเหล่านี้จะนำไปสู่โรคหรือความผิดปกติทางร่างกายได้ในที่สุด

 

โรคไซโคโซมาติคเป็นโรคสามัญมีปรากฏให้เห็นอย่างดื่นดาษ พวกแพทย์ที่รักษาโรคทั่วไปรายงานว่า ผู้ป่วยหนึ่งในสองถึงสามในสี่ที่ไปปรึกษาหมอตามโรงพยาบาลหรือคลินิก มักจะเป็นพวกมีอาการของโรคที่เกี่ยวโยงกับความเครียดอย่างเห็นได้ชัด

 

แต่โดยทั่วไปแล้วคนที่เป็นโรคประเภทนี้จะไม่รู้ว่ามันมีส่วนเกี่ยวโยงกับอารมณ์ที่ถูกเก็บกดไว้ ยกตัวอย่างเช่น คนที่ถูกขู่ว่าจะถูกไล่ออกจากงานอาจไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าอาการปวดที่บั้นเอวของตนเป็นปฏิกิริยาที่แสดงออกมาทางร่างกายอันสืบเนื่องมาจากความกลัวว่าตนจะตกงาน ดังนี้เป็นต้น

 

โรคไซโคโซมาติคอีกรูปแบบหนึ่งที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ คือ โรคที่เกี่ยวกับลำไส้เกิดผิดปกติซึ่งคนนับล้านๆคนมักจะเป็นกันและตรวจไม่พบสาเหตุทางกายใดๆ เช่น มีอาการปวดท้อง ท้องร่วง หรือท้องผูก เป็นต้น

 

เมื่อตรวจแล้วก็จะไม่พบแผลหรือการฉีกขาดของลำไส้ปรากฏให้เห็น อารมณ์เครียดนั่นเองที่เป็นสาเหตุใหญ่ของอาการเหล่านี้ และมักจะเกิดขึ้นหลังจากเจอกับเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดต่างๆ เช่น เกิดการโต้เถียงกับเพื่อน หรือเกิดปัญหาทางด้านการเงิน เป็นต้น และแม้แต่เพียงแค่นึกวิตกกังวลถึงปัญหาต่างๆก็จะทำให้เกิดอาการข้างต้นได้อีกเช่นกัน

 

โรคโซมาติคที่เป็นกันมากอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ โรคปวดศีรษะอันเกิดจากความเครียด โดยจะมีการปวดตึงที่ขมับทั้งสองข้าง อาจจะปวดตึงเช่นนี้เรื้อรังอยู่นานหลายชั่วโมง หลายสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งหลายเดือนก็ได้

 

ปกติแล้วจะไม่มีอาการทางร่างกายอย่างอื่นนอกจากอาการคอแข็ง หรือขากรรไกรแข็ง เชื่อกันว่าความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดศีรษะเช่นว่านี้

 

กล่าวคือ ความเครียดจะไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา”ต่อสู้หรือหลบหนี” ขึ้นในสมอง ซึ่งก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายเกิดการหดตัวอีกทีหนึ่ง และหากอาการเครียดยังไม่ลดน้อยถอยลงไป กล้ามเนื้อที่คอที่ศีรษะและที่ใบหน้าก็จะส่งอาการเจ็บปวดนั้นผ่านทางเส้นประสาทต่างๆไปยังสมอง จากนั้นอาการปวดศีรษะอันเกิดจากความเครียดนี้ก็จะเริ่มแสดงตัวออกมาอย่างเต็มที่

 

บุคลิกภาพกับโรคประจำตัว

 

โรคไซโคโซมาติกมีอะไรอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่สนใจในวงการแพทย์แผนปัจจุบันมาก คือ ที่บ่งบอกว่าบุคลิกภาพบางอย่างของแต่ละคนจะเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นแนวโน้มของโรคภัยไข้เจ็บที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลนั้นๆได้

 

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ไซโคโซมาติคเป็นระบบการรักษาโรคที่กล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพกับโรค ยกตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ผิดปกติมักได้แก่คนที่มีอารมณ์เครียด ชอบวิตกกังวล มีอารมณ์ไม่แน่นอน ชอบวุ่นอยู่กับหน้าที่การงาน และชอบทำอะไรด้วยความรีบเร่ง

 

และที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้น ก็คือว่าคนที่เป็นโรคชนิดนี้สามารถแยกได้ต่อไปอีกเป็น 2 ประเภทด้วยกันตามลักษณะของบุคลิกภาพ กล่าวคือ 1) คนที่ท้องผูกเป็นประจำมักจะเป็นคนโกรธง่าย มีอารมณ์เครียดบ่อยๆและมีนิสัยชอบเก็บกด และ 2) คนที่ท้องร่วงอยู่เป็นประจำมักจะเป็นคนที่มองโลกด้วยความสิ้นหวังและความหดหู่ใจ

 

และจากการวิจัยได้พบว่าบุคลิกภาพอาจมีบทบาทสำคัญให้เกิดโรคอื่นๆนอกจากที่กล่าวได้อีกเช่นกัน การศึกษาเรื่องนี้ที่กระทำกันอย่างสมบูรณ์ที่สุดและผลที่ออกมาก็สอดคล้องสนับสนุนทฤษฎีนี้ได้แก่การศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 1957 โดยนักจิตวิตวิเคราะห์ชื่อฟรอยด์ โอ.ริง แหงวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนบราสกา

 

ทั้งนี้โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เพื่อสอบถามถึงบุคลิกภาพภายในหรืออารมณ์ของผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 400 ราย ผู้ป่วยที่ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้ป่วยด้วยโรคอย่างใดอย่างหนึ่งใน 14 อย่าง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคแผลเปื่อยในลำไส้ โรคปวดในข้อ โรคหืด โรคเบาหวาน และโรคเส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น

 

ผู้ป่วยจะถูกสัมภาษณ์คนละประมาณ 15-25 นาทีและเพื่อให้แน่ใจว่าผู้สัมภาษณ์จะไม่สามารถได้ร่องรอยของโรคใดๆจากผู้ป่วยจึงได้แนะนำไม่ให้ผู้ป่วยพูดถึงอาการของโลก วิธีบำบัดรักษา สิ่งผิดปกติ ตลอดจนเรื่องอื่นใดที่จะทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้เค้ามูลของโรคนั้นๆได้

 

นอกจากนั้นแล้วในขณะที่สัมภาษณ์กันอยู่นั้นก็ให้ผู้ป่วยเอาผ้าคลุมตัวเสียด้วยเพื่อจะไม่ให้ผู้สัมภาษณ์แลเห็นร่องรอยผิดปกติใดๆของผู้ป่วยและหากผู้ป่วยรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรการปกปิดร่องรอยใดๆที่ได้ว่างไว้นี้ เช่น เอามือโผล่ออกมาให้ผู้สัมภาษณ์ได้แลเห็น ก็จะตัดผู้ป่วยรายนั้นออกจากรายการการศึกษาในครั้งนี้

 

จากผลของการสัมภาษณ์นักจิตวิเคราะห์ฟรอยด์และคณะของเขาสามารถวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างถูกต้องแม่นยำในระดับที่สูงเกินกว่าจะเป็นเรื่องของการคาดคะเน

กล่าวคือ สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากได้ถูกต้องถึง 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นแผลเปื่อยในกระเพาะและโรคปวดในข้อได้อย่างถูกต้อง 83 เปอร์เซ็นต์ สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดอุดตันได้ถูกต้อง 71 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ที่เป็นโรคหืด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคลำไส้เป็นแผล ก็สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องระหว่าง 60-67 เปอร์เซ็นต์

 

คำถามข้อหนึ่งในหลายคำถามที่นักจิตวิเคราะห์ฟรอยด์นำไปถามในตอนที่สัมภาษณ์ผู้ป่วยก็คือ”สมมุติว่าคุณกำลังนั่งอยู่บนม้านั่งในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งแล้วเผอิญมีคนแปลกหน้าซึ่งมีรูปร่างมีอายและเพศเหมือนกันกับคุณทุกอย่างเดินเข้ามาหาแล้วใช้เท้าเตะคุณที่ปลายคางคุณจะทำอย่างไรกับคนแปลกหน้าคนนั้น?”

 

คำตอบของผู้ป่วยแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ

 

กลุ่มแรก เรียกว่า “พวกมีปฏิกิริยาล้นเหลือ” ได้แก่ พวกที่ตอบคำถามดังกล่าวว่าตนจะลุกขึ้นเล่นงานคนคนนั้นกลับไปให้ทันควัน กลุ่มนี้เป็นพวกมีนิสัยไม่ชอบแสดงความคิดเห็น และมีแนวโน้มว่าจะแสดงปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าด้วยอารมณ์ที่หนักไปทางกลัวและโกรธ ฟรอยด์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คนประเภทนี้มักเป็นโรคปวดในข้อ โรคแผลเปื่อยในลำไส้ หรือโรคเส้นเลือดอุดตัน

 

กลุ่มที่สอง เรียกว่า “พวกมีปฏิกิริยาบกพร่อง” ได้แก่ พวกผู้ป่วยที่ตอบว่าตนจะไม่ทำอะไรเพื่อตอบโต้คนที่มาเตะนั้น ฟรอยด์บอกว่าคนพวกนี้มีนิสัยเก็บกดอารมณ์ที่แท้จริงเอาไว้ภายใน จะไม่ปล่อยให้มันแสดงตัวออกมาภายนอก คนประเภทนี้จึงมักเป็นโรคลมพิษ โรคปวดตามข้อ หรือโรคลำไว้อักเสบ

 

กลุ่มที่สาม เรียกว่า “พวกมีปฏิกิริยายับยั้งชั่งใจ” คือ พวกที่แม้จะรู้ตัวว่าโกรธหรือกลัวแต่ก็จะไม่แสดงอารมณ์เหล่านี้ออกมาให้เป็นที่ปรากฏ ได้แก่กลุ่มที่ตอบว่า”ฉันคงจะโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ” หรือว่า”ฉันอาจเล่นงานหมอนั่นเข้าบ้างก็ได้” ฟรอยด์บอกว่าส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มเป็นโรคปัสสาวะกะปริบกะปรอย โรคความดันโลหิตสูง โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมาก หรือโรคปวดศีรษะข้างเดียว

 

นอกจากนี้แล้วเรื่องของไซโคโซมาติกก็ไม่ได้จำกัดขอบข่ายอยู่เฉพาะในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น แต่ยังมีความเกี่ยวพันกับเรื่องอื่นๆได้อีกเช่นกัน

 

ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยที่ศูนย์การแพทย์เพรสไบเทอเรียน เมืองโคลัมบีย มลรัฐนิวยอร์ก เมื่อตอนต้นทศวรรษที่ 1940 ซึ่งผู้ดำเนินการวิจัยครั้งนี้คือ ดร.เฮเลน ฟลานเดอร์ ดันบาร์ ได้ศึกษาวิจัยพวกที่ประสบอุบัติเหตุอยู่บ่อยๆแล้วสรุปผลออกมาว่า บุคลิกภาพมีส่วนสำคัญที่ทำให้คนประสบอุบัติเหตุ

 

กล่าวคือ คนที่มักประสบอุบัติเหตุบ่อยๆนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ร่าเริงแจ่มใส แต่มีความรู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน มักเปลี่ยนคู่นอนอยู่บ่อยๆ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ค่อยได้ มีนิสัยชอบโต้แย้งเจ้านายในที่ทำงาน เนื่องจากมีสภาวะทางอารมณ์ที่ถูกเก็บกดไว้ภายใน

 

อาการของโรคไซโคโซมาติคอีกรูปแบบหนึ่งมีลักษณะอย่างที่วงการแพทย์เรียกว่า “ออโตอีริโทรไซต์ เซ็นเซชั่น” คือ จะมีอาการฟกซ้ำขึ้นเองตามธรรมชาติตามผิวหนัง

 

อาการตอนแรกจะรู้สึกเจ็บตามตัวก่อน จากนั้นตรงที่เจ็บนั้นจะบวมขึ้นมาแล้วเป็นรอยฟกช้ำ รอยฟกช้ำนี้อาจจะขยายตัวใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ เป็นลม และมีอาการชาทั่วร่างกาย

 

จากการศึกษาของแพทย์ 2 คน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คือ นายแพทย์แฟรงค์ การ์เนอร์ และนายแพทย์หลุยส์ ไดมอนด์ ได้พบว่าส่วนใหญ่แล้วคนที่มีอาการฟกช้ำเกิดขึ้นตามร่างกายดังกล่าวมักจะเป็นคนที่เคยได้รับอุบัติเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อน เช่น เคยถูกรถชน เป็นต้น

 

 และที่เกิดอาการฟกช้ำขึ้นมานั้นก็เนื่องมาจากร่างกายมีปฏิกิริยาแบบออโตอิมมูน(ปฏิกิริยาแพ้ภูมิตนเอง) ต่อเซลล์สีแดงในเลือด

 

จากการศึกษาของนายเดวิด พี.แอคลี จิตแพทย์แห่งวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคส เวสเทิร์น รีเสิร์ฟ เมืองเคลฟแลนด์ สรุปได้ว่า”อาการฟกช้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น มักจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสถานการณ์บีบคั้นทางอารมณ์”

 

ยกตัวอย่างเช่น หญิงผู้หนึ่งแลเห็นบาดแผลถูกกระสุนปืนที่เข่าขวาของชาย(หนึ่งและเกิดจำคนผิดคิดว่าชายที่ถูกปืนนั้นเป็นพี่ชายของนาง ต่อมาไม่นานหญิงผู้นี้ก็เกิดอาการฟกช้ำและเจ็บปวดที่บริเวณขาข้างขวาตรงจุดเดียวกันนั้น ผู้หญิงอีกรายหนึ่งมีอาการฟกช้ำเกิดขึ้นบนหลังมือข้างขวาหลังจากที่นางเกิดความโกรธมากจนอยากจะใช้มือข้างนั้นตบหน้าชายผู้หนึ่งที่มายั่วยุแต่ยั้งมือเอาไว้ทันและผู้ต่อมาผู้หญิงคนเดียวกันนั้นก็เกิดอาการฟกช้ำที่ขาข้างหนึ่ง แต่คราวนี้อาการหนักมากถึงกับเดินไม่ได้ ต้องเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลอยู่หลายสัปดาห์

 

โรคไซโคโซมาติคอีกประเภทหนึ่งซึ่งนานๆจะได้เจอสักราย คือที่มีอาการเลือดไหลออกจากรูขุมขนของผู้ป่วย พวกนักวิจัยบอกว่าโรคที่มีอาการอย่างนี้เคยเป็นกันมาแล้วตั้งแต่หลายศตวรรษที่ผ่านมา เขาเรียกกันว่า”แผลตราบาปของพระเยซู” ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะเป็นเพศหญิง มีอาการเลือดไหลออกจากมือ จากเท้า จากหัวไหล่ จากสีข้างและจากศีรษะ

 

และเพื่อที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างจิตกับร่างกาย ตลอดจนผลของความเชื่อมโยงนี้ต่อสุขภาพอนามัยของคนเราต่อไป

 

เมื่อเร็วๆนี้ทั้งนักวิจัยทางการแพทย์และนักสังคมศาสตร์ก็ได้ร่วมมือกันศึกษาศาสตร์ใหม่อีกแขนงหนึ่งมีชื่อเรียกกันว่า”ไซโคนิวโรอิมมูโนโลยี” (Psychoneuroimmunology) หรือที่เรียกเป็นชื่อย่อว่า พีเอ็นไอ(PNI)

 

การวิจัยตามแนวพีเอ็นไอได้มุ่งประเด็นไปที่ความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนระหว่างสมองกับระบบภูมิคุ้มกันโร ระบบภูมิคุ้มกันที่ว่านี้หมายถึงอวัยวะส่วนต่างๆและหน้าที่ต่างๆของร่างกายที่ต้อสู้กับอินทรียวัตถุทั้งหลายที่รุกรานเข้าสู่ร่างกายของคนเรา

 

จิตกับระบบภูมิคุ้มกันโรค

 

ในช่วงก่อนกลางทศวรรษปี 1970พวกนักวิทยาศาสตร์มีความเชื่อว่า ระบบภูมิคุ้มกันโรคทำงานเป็นอิสระจากสมองและอารมณ์อย่างเด็ดขาด แต่พอตกมาถึงปี ค.ศ. 1974 ความเชื่อที่ว่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไป

 

ทั้งนี้เพราะผลสืบเนื่องมาจากการวิจัยของนายโรเบิร์ต เอ็ดเดอร์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโรเซสเตอร์ ซึ่งกระทำขึ้นในปีนั้นเอง

 

แรกเริ่มเดิมทีนายโรเบิร์ตต้องการจะทดลองถึงวิธีการที่จะทำให้หนูเกลียดรสหวานของขัณฑสกร เขาจึงได้เอาสารละลายขัณฑสกรกรอกปากหนูตะเภาและพร้อมกันนั้นเขาก็ได้รีบฉีดสารโซโคลฟอสฟาไมด์เข้าสู่ร่างกายของหนูตะเภาเหล่านั้นด้วยสารตัวหลังนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง

 

หลังจากฉีดสารตัวนี้เพียงเข็มเดียวเท่านั้น หนูตะเภาก็เกิดการเรียนรู้ว่าที่ท้องมันเกิดปวดขึ้นมาก็เพราะกินน้ำขัณฑสกรเข้าไปนั่นเอง พวกมันจึงหลีกเลี่ยงที่จะกินน้ำขัณฑสกรนั้น

 

เมื่อพวกหนูที่ถูกสร้างเงื่อนไขไว้แล้วนี้ได้ถูกบังคับให้ดื่มสารขัณฑสกรเข้าไปอีกครั้ง ครั้งหลังนี้นายโรเบิร์ตไม่ได้ฉีดสารไซโคลฟอสฟาไมด์ให้มันเหมือนครั้งแรก แต่ปรากฏว่าพวกมันก็ยังมีอาการปวดท้องเหมือนครั้งแรกและบางตัวถึงกับตายไปเลย

 

หลังจากที่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วนายโรเบิร์ตก็ได้สรุปผลออกมาว่า สารไซโคลฟอสฟาไมด์นี้นอกจากจะทำให้ปวดท้องได้แล้วยังสามารถเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันซึ่งส่งผลให้หนูตะเภาเกิดการป่วยขึ้นมาได้อีกด้วย แต่เขาก็ยังมีความสงสัยอยู่ต่อไปว่า มันจะเป็นไปได้อย่างไรที่สารไซโคลฟอสฟาไมด์แค่เข็มเดียวจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้หนูตะเภาติดเชื้อโรคได้?

 

นายโรเบิร์ตจึงได้ตั้งข้อสมมุติฐานต่อไปว่า น่าจะมีสิ่งอื่นซึ่งไม่ใช่สารไซโคลฟอสฟาไมด์ที่เป็นตัวการก่อให้เกิดปฏิกิริยาในร่างกายของหนูตะเภา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เขามีความสงสัยว่าสภาวะทางจิตที่ถูกสร้างเป็นเงื่อนไขขึ้นมานั่นแหละน่าจะเป็นตัวการสำคัญทำให้น้ำสารละลายขัณฑสกรเกิดฤทธิ์ทำให้หนูป่วยและทำให้หนูหมดความต้านทานโรค

 

เพื่อจะทดสอบสมมุติฐานใหม่ที่ว่านี้ต่อไป นายโรเบิร์ตจึงได้ร่วมมือกับนักวิทยาภูมิคุ้มกันชื่อนิโคลาส โคเฮ็น แห่งมหาวิทยาลัยโรเซสเตอร์ ดำเนินการศึกษาในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้กระบวนการทดลองอย่างเดิมแต่กระทำกับหนูกลุ่มใหม่

 

และผลของการทดลองครั้งนี้ก็ออกมาเช่นเดียวกับครั้งแรก อันเป็นการยืนยันสมมุติฐานที่ได้ตั้งไว้นั้น กล่าวคือ น้ำขัณฑสกรได้ไปทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของหนูเกิดความบกพร่องส่งผลให้หนูพวกนั้นต้านทานโรคได้ไม่ดี

 

และทั้งหลายทั้งปวงนี้เกิดขึ้นมาได้ก็เพราะเงื่อนไขที่เกิดขึ้นในจิตของหนูนั่นเอง นายโรเบิร์ตจึงสรุปผลของการทดลองว่า จิตมีอิทธิพลเหนือร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นจิตของคนหรือจิตของสัตว์ก็ตาม

 

การวิจัยทดลองของนายโรเบิร์ต เอ็ดเดอร์ครั้งนี้ ได้ส่งผลให้ผู้คนหันมาสนใจศึกษาในเรื่องศาสตร์พีเอ็นไอกันมากยิ่งขึ้น ทำให้เราได้เข้าจะบบภูมิคุ้มกันมากกว่าแต่ก่อนว่า การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันไม่เหมือนกับระบบหัวใจและหลอดเลือด กล่าวคือ ระบบหัวใจและหลอดเลือดมีความเชื่อมโยงระหว่างหัวใจและหลอดเลือด หรือระบบประสาทกับสมอง ไขสันหลังและเส้นประสาท

 

ส่วนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันมีความเชื่อมโยงกับเซลล์และโมเลกุลต่างๆที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย เซลล์ที่รู้จักกันดีคือเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโพไซท์มีหน้าที่กลั่นกรองกระแสเลือดและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปบุกรุกเข้ามาซึ่งเรียกว่าอแนติเจ็น(antigens) เมื่อเจอผู้บุกรุกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชลล์เม็ดเลือดขาวนี้ก็จะเข้าไปประชิดแล้วจัดการปล่อยสารที่เรียกว่าแอนตี้บอดี้(antibody) เพื่อให้ทำลายผู้บุกรุกคือเชื้อแบคทีเรียนั้นทันที

 

จากนั้นเซลล์สำคัญอื่นๆที่ประกอบกันเป็น”กองทัพ”ของระบบภูมิคุ้มกันรวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวขื่อแม็คโครเฟจก็จะเข้ามา”รุมกิน”ผู้บุกรุกคือเชื้อแบคทีเรียที่โดนสารแอนตี้บอดี้เล่นงานจนอ่อนแรงแล้วนั้น

 

นอกจากนี้แล้วในระบบภูมิคุ้มกันก็ยังมีเซลล์อีกชนิดหนึ่งเรียกกันว่าหน่วยล่าสังหารตามธรรมชาติ หรือเรียกชื่อย่อว่าเอ็นเค(NK =natural killer) เป็นเซลล์ที่เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านต่อสู้กับเชื้อไวรัสและเนื้องอกต่างๆ

 

ในบางครั้งระบบภูมิคุ้มกันจะปฏิบัติการตอบโต้ต่อผู้บุกรุกหรือเอ็นติเจนอย่างรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งก็จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่างๆขึ้นมาได้ ตัวอย่าเช่น โรคไข้ละอองฟาง(เฮย์ ฟีเวอร์) ก็คือ ระบบภูมิคุ้มกันส่งกองทัพของมันออกไปปราบปรามละอองของฟางมากเกินความจำเป็นนั่นเอง

 

ในบางครั้งภูมิคุ้มกันก็อาจเกิดการเสียระบบอย่างรุนแรง อาการที่เกิดขึ้นก็คือ ตัวมันเองเริ่มโจมตีเซลล์ดีต่างๆให้เสียหายหรืออ่อนแอลง ทำให้เกิดโรคประเภทภูมิแพ้ตนเอง(autoimmune) เช่น โรคข้ออักเสบ โรคโลหิตจาง หรือโรคที่วงการแพทย์เรียกในภาษอังกฤษว่า “ซิสเทมิค ลูปัส อีริทีมาโตซัส( SLE = systemic lupus erythematosus) อันเป็นโรคที่เกิดกับหญิงในวัยสาว ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นทำให้อารมณ์แปรปรวน ไตวาย และอาจทำให้เสียชีวิตได้(ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ก่อนเสียชีวิตเมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เป็นโรคเดียวกันนี้)

สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันที่พบเห็นกันบ่อยอีกอย่างหนึ่งก็คือระบบภูมิคุ้มกันถูกปราบปราม อย่างเช่นที่เกิดกับหนูตะเภาที่นายโรเยิร์ต เอ็ดเดอร์ทดลองดังกล่าวข้างต้น

 

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันเกิดผิดปกติแบบนี้ก็จะเปิดทางให้เชื้อไวรัส เชื้อแบทีเรียละสารพิษต่างๆเข้ามารุกรานและยึดครองร่างกาย และหากระบบภูมิคุ้มกันยังถูกปราบปรามอยู่ต่อไปโยที่มันไม่ยอมทำหน้าที่ต่อต้านคนเราก็จะถึงแก่ความตาย

 

พวกคนป่วยที่เป็นโรคเอดส์(โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง) ก็คือคนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอมากๆซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายตกเป็นเป้ารุกรานจากโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งได้ง่าย

 

ส่วนข้อที่ว่าจะใช้อะไรเป็นเครื่องมือทำให้ระบบภูมิคุ้มกันกลับคืนสู่ภาวะปกติได้นั้น? เป็นปัญหาที่ยังไม่มีใครรู้ได้อย่างแท้จริง แต่ที่แน่ๆก็คือว่า สมองมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง

 

จากการศึกษาเมื่อปลายทศวรรษปี 1970 โดยนักประสาทวิทยาชื่อ กาเล็น บุลลอค แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเมืองซานดิเอโก มีผลออกมาว่า การติดต่อเชื่อมโยงกันระหว่างสมองกับระบบภูมิคุ้มกัน ละจากการศึกษาในครั้งต่อมาก็ได้ยืนยันเพิ่มเติมว่า สมองและระบบภูมิคุ้มกันมีการสื่อสาร”พดจา”กันได้

 

กล่าวคือ สมองจะส่งข่าวสารคางเคมีไปถึงระบบภูมิคุ้มกันให้ทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซท์ให้แสดงปฏิกิริยาออกมา ส่วนทางฝ่ายระบบภูมิคุ้มกันก็จะป้อนข่าวสารทาง

 

เคมีของตนกลับไปยังย่านสมองตรงที่เรียกว่าไฮโปทาลามัสอันเป็นส่วนของสมองที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอารมณ์ จากนั้นอารมณ์ก็จะไปกำกับดูแลร่างกายของคนอีกทอดหนึ่ง

 

เมื่อพิจารณาจากระบบป้อนและรับข่าวสารแบบทวิภาคดังกล่าวข้างต้น ก็ดูเหมือนว่าจะมีเหตุผลพอสมควรที่จะเขื่อตามนักวิจัยศาสตร์พีเอ็นไอ ที่บอกว่าอารมณ์ซึ่งมีผลต่อสมองส่วนไฮโปทาลามัสนั่นแหละที่อาจจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันได้

 

นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า ความเครียดเรื้อรังจะไปกระตุ้นให้สมองปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่งออกมา สารเคมีชนิดนี้มีศักยภาพที่จะไปยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันด้วยวิธีไปลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโปไซท์ เซลล์แม็คโครเฟจ และเซลล์หน่วยล่าสังหารเอ็นเค ซึ่งล้วนแต่หมุนเวียนอยู่ในร่างกาย

 

สภาพจิตใจมีผลกระทบต่อโรคภัยไข้เจ็บ

 

จากเหตุผลที่กล่าวมานี้ก็อาจจะใช้เป็นคำอธิบายปัญหาข้อสงสัยที่ว่า เพราะเหตุใดคนที่สูญเสียคนรักไปจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคติดเชื้อ โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ และโรคอื่นๆในอัตราที่สูงมาก

 

เมื่อปี ค.ศ. 1975 ที่ประเทศออสเตรเลียได้มีการวิจัยผลของความเศร้าโศกเสียใจต่อสุขภาพอนามัยของคนเรา โดย ดร.อาร์.ดับเบิลยู.บาร์ทรอฟกับคณะ

โดยการนำเลือดของคนที่เคยเศร้าโศกเพราะสามีหรือภรรยาเสียชีวิตไปเปรียบเทียบกับเลือดของคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาก่อน

 

ผลของการเปรียบเทียบปรากฏว่า ปฏิกิริยาลิมไปไซทืในเลือดของคนที่เคยเศร้าโศกเพราะคู่ชีวิตเสียชีวิตมีระดับต่ำกว่าในเลือดของคนที่ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน

 

นอกจากนี้แล้วปัจจัยทางด้านอารมณ์ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นตัวการไปลดจำนวนเซลล์หน่วยล่าสังหารก้อนเนื้อร้ายเอ็นเคในหมู่ผู้ป่วยหญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมได้อีกเช่นเดียวกัน

 

จากการศึกษาผู้ป่วยหญิงที่เป็นมะเร็งที่เต้านมเมื่อปี ค.ศ. 1981 นางแซนตรา เลวี นักจิตวิทยาแห่งสถาบันมะเร็งเมืองพิตตส์เบิร์กได้พบว่า เลือดของผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาเอ็นเคอยู่ในระดับต่ำมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการลุกลามของก้อนเนื้อมะเร็งที่เต้านม

 

นางแซนตรา เลวีได้มีบทสรุปไว้ว่า การที่ปฏิกิริยาเอ็นเคในเลือดผู้ป่วยมะเร็งจะมีระดับสูงหรือต่ำนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านจิตวิทยา เช่น ผู้ป่วยจัดการกับความเครียดของตนอย่างไร และผู้ป่วยเกิดความรู้สึกว่าตนได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนๆและครอบครัวให้มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็งนั้นหรือไม่

 

จริงอยู่ความเครียดเกือบทุกชนิดสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงไปได้ แต่ท่าทีของคนที่มีต่อความเครียดนั่นต่างหากี่จะเป็นตัวตัดสินว่าระบบภูมิคุ้มกันจะพังทลายลงไปหรือไม่

 

คนที่มีความรู้สึกที่เรื้อรังฝั่งแน่นอยู่ในใจว่าชีวิตตนสิ้นหวังเสียแล้วนั้นจะมีความลำบากในการต่อสู้กับโรคมากกว่าคนที่มีความหวังและมีความคิดในทางที่ดีต่อชีวิต

 

ในรายงานผลการศึกษาที่ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยโรเซสเตอร์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1971 นักวิจัยได้สัมภาษณ์หญิงจำนวน 68 คนซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ที่ถูกแพทย์ตัดเนื้อที่ปากมดลูกไปพิสูจน์และอยู่ในระหว่างรอผลทางการพิสูจน์อยู่นั้น

 

การสัมภาษณ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบท่าทีของหญิงเหล่านั้นว่า เป็นพวกมีความหวังหรือว่าเป็นพวกสิ้นหวังในชีวิตอย่างไรบ้าง

 

ผลของการพิสูจน์ของแพทย์ปรากฏว่า ในจำนวนหญิง 68 รายดังกล่าว ที่เป็นมะเร็งมี 28 ราย ส่วนอีก 40 รายไม่เป็น ส่วนทางฝ่ายของนักวิจัยซึ่งอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์แต่เพียงอย่างเดียวก็สามารถทำนายได้อย่างถูกต้องว่า ในจำนวนหญิงเหล่านั้น ผู้ที่เป็นมะเร็งมีอยู่ 19 ราย(อัตราความถูกต้อง 68 เปอร์เซ็นต์) ส่วนที่จะไม่เป็นระเร็งมีอยู่ 31 ราย (อัตราความถูกต้อง 77 เปอร์เซ็นต์)

 

ผลของการวิจัยครั้งนี้แสดงไว้ด้วยว่า พวกผู้หญิงที่พูดถึงชีวิตของตนเองในแง่ดีเป็นส่วนใหญ่นั้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยที่สุด

 

ความรู้สึกว่าคนไร้ที่พึ่งเป็นสาเหตุทำให้คนเรามีปฏิกิริยาเฉื่อยชา ข้อนี้สอดคล้องกับผลของการวิจัยของนายมาร์ติน เซลิแมน นักวิทยาแห่งมาหวิทยาลัยเพ็นซิลวาเนีย ซึ่งได้ศึกษาเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967

 

ในตอนแรกของการทดลองนายมาร์ตินไปเอาหนูตะเภามาขังไว้ในกรงแล้วช๊อตมันด้วยไฟฟ้า ปรากฏว่าหนูเกิดอาการเฉื่อยชา ครั้นแล้วเขาจึงเปิดกรงให้มันออก ถึงตอนนี้ปรากฏว่าหนูกลับไม่ยอมออกจากกรง

 

คนเราก็เช่นเดียวกันสามารถถูกสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรู้สึกในแง่ร้ายว่าตนหมดโอกาสที่จะปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้นมาได้ ซึ่งข้อนี้สอดคล้องกับผลของการทดลองในครั้งต่อมาของนายมาร์ตินคนเดิม

 

นายมาร์ตินเอาคนจำนวนหนึ่งมาขังรวมกันไว้ในห้องมืดห้องหนึ่ง แล้วเปิดวิทยุสียงดังลั่นจนแสบแก้วหู ต่อมาเขาลองเปิดไฟฟ้าให้สว่างจ้าในห้อง

 

ปรากฏว่าคนที่ถูกนำตัวมาทดลองประมาณสองในสามมีปฏิกิริยาในทางที่จะปรับตัวให้เข้ากับแสงสว่างจ้านั้น เช่น ไม่ยกมือขึ้นปิดตา เป็นต้น ทั้งๆที่ยังมีเรี่ยวแรงพอที่จะยกมือขึ้นมาได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคนเหล่านี้ได้ถูกสร้างเงื่อนไขให้มีความเชื่อว่าพวกตนหมดที่พึ่งเสียแล้ว

 

การขาดความสนับสนุนและให้กำลังใจจากญาติสนิทมิตรสหายก็อาจจะเป็นอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกันได้อีกเหมือนกัน จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความว้าเหว่กับอัตราการตายของคนครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง นักวิจัยได้พบว่า คนที่มีเพื่อนสนิทมิตรสหายไปมาหาสู่น้อย มีอัตราการตายก่อนวัยสูงกว่าคนอื่นๆที่มีเพศและวัยเดียวกันถึงสามเท่า

 

ส่วนนักวิทยาศาสตร์อีกพวกหนึ่งก็บอกว่า การแยกตัวออกจากสังคมเป็น”ปัจจัยเสื่องสำคัญ”ที่ทำให้คนตายเร็วพอๆกับการสูบบุหรี่

 

ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุที่เข้าไปอยู่ในสถานเลี้ยงดูคนชรา มักมีชีวิตว้าเหว่และตายเร็วกว่าผู้สูงอายุทิอยู่ในบ้านท่ามกลางลูกหลาน

 

มนุษยสัมพันธ์ป้องกันโรคหัวใจ

 

เรื่องราวของเมืองโรเซตาเมืองเล็กๆที่ทำเหมืองหินชนวนที่ประชากรมีไม่ถึง 2,000 คน ในรัฐเพ็นซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า สหสัมพันธ์ทางสังคมมีผลสำคัญยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของคนเรา

 

กล่าวคือ เมื่อไม่กี่ปีมานี้พวกนักวิทยาโรคระบาดได้เดินทางไปที่เมืองโรเซโตแห่งนี้เพื่อวิจัยค้นหาเบื้องหลังของความลับที่ทำให้ประชากรในเมืองนี้มีอัตราการตายด้วยโรคหัวใจอยู่ในระดับต่ำมาก

 

ทีแรกพวกนักวิจัยเหล่านี้ได้วาดภาพไว้ว่า อย่างไรเสียผู้คนในเมืองนี้คงจะเอาใจใส่ดูแลสุขภาพอนามัยของตนป็นอย่างดีเยี่ยม

 

แต่เมื่อไปเห็นมากับตาจริงๆถึงได้รู้ว่าที่คาดการณ์เอาไว้นั้นผิดอย่างถนัด เพราะผู้คนในเมืองโรเซโตใช้ชีวิตสำมะเลเทเมาเหมือนคนในชุมชุนแห่งอื่นๆคือ สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด กินอาหารจุ แต่ออกกำลังกายน้อย

 

เมื่อเป็นเช่นนี้อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนเมืองนี้มีอัตราการตายด้วยโรคหัวใจอยู่ในระดับต่ำมากเล่า? จากการวิจัยได้พบคำตอบว่า ตัวการที่มาช่วยปกป้องคนเมืองนี้ไม่ให้ตายเร็ว ก็คือ ความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกัน

 

ในเมืองโรเซโตนี้ครอบครัวต่างๆจะรู้จักมักคุ้นมีความเอื้ออาทรไต่ถามสารทุกข์สุกดิบกันและกันอยู่เสมอ มีส่วนในสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจของกันและกัน และเมื่อเกิดเหตุเภทภัยใดๆก็ร่วมมือร่วมใจให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลไม่วางเฉยปล่อยให้เพื่อนบ้านเผชิญชะตากรรมแต่ลำพัง

 

และจากการวิจัยต่อไปได้พบว่า ชาวเมืองโรเซโตที่ย้ายไปอยู่เมืองอื่นๆซึ่งมีลักษณะทางสังคมแบบตัวใครตัวมันไม่มีเพื่อนบ้านให้การสนับสนุนเหมือนอย่างที่เมืองโรเซโต ปรากฏว่าคนเหล่านี้กลับกลายเป็นโรคหัวใจในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นการสนับสนุนทางสังคมจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยปกป้องชาวโรเซโตจากโรคหัวใจเหนือตัวแปรอื่นใด

 

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมว่าจะเอื้อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนป่วยได้ เดี๋ยวนี้หมอหลายคนจึงได้สนับสนุนให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายชนิดเดียวกันไปอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาความรู้สึกว้าเหว่และส่งเสริมขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย

 

ยกตัวอย่างเช่น คนป่วยที่เป็นโรคมะเร็งจะได้รับการสนับสนุนให้ไปร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่นิคม”เวลล์เนสคอมมูนิตี้”เมืองแซตาโมนิกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

ผู้ป่วยรายหนึ่งที่เคยไปร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่นิคมแห่งนี้เล่าว่า บรรยากาศโยทั่วไปเหมือนกับว่าไปอยู่ในครอบครัวใหญ่ๆ ผู้ป่วยได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการบำบัดโรควิธีต่างๆ เช่น ด้วยวิธีทางยา และการฉายแสง เป็นต้น

 

แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือพวกผู้ป่วยจะชวนกันคุยแต่เรื่องสนุกๆที่จะช่วยสร้างอารมณ์ขันและเสียงหัวเราะครื้นเครง ตลอดจนเรื่องที่จะสร้างความหวังในอนาคตให้แก่กันและกัน

 

มีกิจกรรมอย่างหนึ่งซึ่งจัดอยู่เป็นประจำและเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ป่วยมาก คือ กิจกรรมที่เรียกว่า”มหกรรมเรื่องตลก” โดยที่จะมีวิทยากรหรือผู้ป่วยด้วยกันผลัดกันเล่าเรื่องตลกต่างๆรวมทั้งเอาเรื่องมะเร็งมาพูดล้อเลียนเพื่อสร้างความครึกครื้นสนุกสนานให้แก่เพื่อนๆ

 

กิจกรรมสัมพันธ์เพื่อการบำบัดโรค

 

แนวความคิดเรื่องการบำบัดโรคด้วยวิธีที่เรียกว่า "กรุ๊ป ทีรัปปี้(Group Therapy)” อย่างที่ว่ามานี้ได้รับการพัฒนาให้ก้าวไกลไปอีกชั้นหนึ่ง โยผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ซึ่งมีหลายคนด้วยกัน คนหนึ่งก็ได้แก่ นางหลุยเซ่ แอล. เฮย์ ชาวแซนตาโมนิกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองเดียวกับที่ริเริ่มนำเอากระบวนการบำบัดโรคแบบกรุ๊ป ทีรัปปี้ไปใช้กับผู้ป่วยเป็นแห่งแรกนั้นเอง

 

ตามประวัติบอกว่านางหลลุยซู้นี้ในสมัยที่เป็นเด็กอยู่นั้นได้ถูกพ่อแม่บังคับเคี่ยวเข็ญและเฆี่ยนตีอยู่เป็นประจำ ต่อมาเมื่อแต่งงานแล้วชีวิตครอบครัวก็เกิดความล้มเหลวซ้ำเข้าไปอีก มีอันต่อหย่าร้างกับสามีและทุกข์ทรมานใจ คิดมากจนเป็นมะเร็งในที่สุด

 

แต่ต่อมานางได้หายจากโรคมะเร็งด้วยวิธีการกรุ๊ป ทีรัปปี้นี้เอง หลังจากหายจากโรคมะเร็งแล้วนางหลุยเซ่ก็ได้รณรงค์ให้มีการใช้วิธีการนี้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงต่างๆ

 

นอกจากนี้แล้วนางยังได้สนับสนุนให้ผู้ป่วยฝึกสร้างความรู้สึกรักและห่วงใยในชีวิตให้เกิดขึ้นในใจอย่างมุ่งมั่นแน่วแน่ ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสามารถป้องกันโรคได้ทุกชนิด

 

“ความคิดที่เราคิดและคำพูดที่เราพูดออกมา มีอิทธิพลเหนือชีวิตของเรา รวมทั้งเหนือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่เราเป็นอยู่นั้น”นางหลุยเซ่กล่าวและว่า "หากเราคิดและพูดด้วยความมุ่งมั่นแน่วแน่ว่า เราต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไป โรคนั้นๆก็จะหายไปได้เอง”

 

มีคนจำนวนไม่น้อยได้ให้ความสนใจในกรรมวิธีบำบัดโรคแบบนี้ชองนายหลุยเซ่โดยได้ติดตามอ่านจากหนังสือที่นางเขียนขึ้นมาชื่อ Heal Your Body ซึ่งได้เสนอแนะแนวคิดสำคัญไว้ว่า ความคิดในเชิงบวกสามารถใช้ติดต่อต้านโรคติดเชื้อทางกายได้หลายชนิด เป็นต้นว่าโรคท้องร่วง โรคตาเป็นต้อหิน โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศหญิง โรคเชื้อรา โรคกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ และโรคหูด เป็นต้น

 

ปรากฏว่าหนังสือเล่มนี้มียอดจำหน่ายถึง 40,000 เล่ม และมีคนนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆถึง 10 ภาษา เมื่อปี ค.ศ. 1985 นางหลุยเซ่ได้เริ่มโครงการจัดกลุ่มกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์และญาติมิตรของผู้ป่วย ทั้งนี้โยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความหวังตลอดจนขวัญและกำลังใจให้แก่พวกเขา ด้วยการแนะนำว่า “ความรักเป็นตัวกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ทรงอานุภาพมากที่สุด"

 

และในช่วงอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้นนางหลุยเซ่ก็ได้จัดกิจกรรมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่ากิจกรรม”เฮย์ไรด์Hayrides)” แก่ผู้ป่วยที่ผ่านการร่วมกิจกรรมประเภทนี้ไปแล้วประมาณ 600-700 คน

 

ในจำนวนนี้มีรายหนึ่งได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทม์เมื่อปี ค.ศ. 1988 ว่า "เป็นกิจกรรมที่จัดได้สนุกที่สุด”

 

แต่ในความรู้สึกของคนในวงการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว นางหลุยเซ่เป็นบุคคลที่ไม่ค่อยจะชอบมาพากลนัก ถึงแม้ว่าแพทย์แผนปัจจุบันหลายคนจะยอมรับว่าวิธีการของนางจะไปช่วงสร้างความหวังให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ได้ แต่ก็มีหมอผู้เชี่ยวชาญโรคเอดส์อีกหลายคนไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของนางที่กล่าวไว้ในหนังสือ Heal Your Body ว่าสาเหตุของโรคเอดส์มาจากการที่คนเราขาดความรักในชีวิต

 

“ในฐานะที่ผมเป็นแพทย์” ดร.ไมเคิล คอตต์เลียบ(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคเอดส์และเป็นคนแรกที่พูดว่าโรคเอดส์จะเป็นโรคที่ท้าทายต่อวงการแพทย์สมัยใหม่) กล่าว "ผมคิดว่าความรัก การยอมรับ และการให้อภัยอาจจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการรักษาโรคได้ แต่โรคเอ็ดส์เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ไม่ใช่มีสาเหตุมาจากการขาดความรัก”

 

นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหมอแผนปัจจุบันอีกหลายคนได้โจมตีแนวความคิดของนายหลุยเซ่ในประเด็นที่เกี่ยวกับอิทธิพลของความเร้นลับที่บอกว่า ผู้ป่วยหายจากโรคได้เพราะความคิดและคำพูดของผู้ป่วยโดยส่วนเดียว

 

ตัวอย่างเช่น ดร.ปีเตอร์ โวลฟ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาแพทยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์นีย เมืองลอสแองเจลิส และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาโรคเอดส์ด้วยผู้หนึ่ง

 

ได้วิจารณ์เรื่องนี้ไว้ว่า “ที่จริงผู้ป่วยเมื่อป่วยขึ้นมาแล้วมีแนวโน้มที่จะมองตนเองว่าเป็นคนเสียหาย เมื่อเป็นเช่นนี้ผมจึงไม่คิดว่าแนวความคิดของคุณหลุยเซ่จะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้”

 

ทางฝ่ายนางหลุยเซ่เองก็ยอมรับว่า แนวความคิดของตนไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเมื่อมีผู้ยกประเด็นนี้ขึ้นมาถามนางได้อธิบายว่า สิ่งที่นางเรียกว่า”การบำบัดโรค”นั้นสามารถกระทำได้หลายระดับ คือทั้งระดับจิตใจและระดับร่างกาย และก็ไม่จำเป็นว่าผู้ป่วยจะต้องหายจากโรคเสมอไป

 

ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏว่าในบรรดาผู้ป่วยโรคเอดส์ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มของนางหลุยเซ่ แม้ว่าจำนวนหนึ่งจะเสียชีวิตไปเพราะโรคนี้แต่ก็มีอีกจำนวนหนึ่งบอกว่าตนได้รับการบำบัดให้หายจากโรคเอ็ดส์ได้แล้ว

 

กระนั้นก็ตามผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ส่วนใหญ่ก็บอกว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่อ้างว่าตัวหายจากโรคเอดส์นั้นก็เนื่องมาจากโรคเอดส์หลบใน หรือไม่เป็นนั้นก็เพราะเกิดการวินิจฉัยโรคผิดพลาดมาแต่แรก

 

คลายเครียดคลายโรค

 

การมีเพื่อนสนิทมิตรสหายที่คอยให้ความอบอุ่นและเอาใจใส่ดูแลเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่งในอีกหลายวิธีที่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเอดส์และโรคอื่นๆสามารถนำไปใช้เพื่อก่อผลในทางที่ดีต่อจิตใจและแม้กระทั่งต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค

 

แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่ผู้ป่วยสามารถกระทำได้ด้วยตนเองโยไม่ต้องอาศัยบุคคลอื่นมาช่วยเหลือ คือ การใช้สมองควบคุมร่างกาย วิธีการที่ว่านี้มีชื่อเรียกว่า “ไบโอจอลิคอล ฟีดแบ็ค” หรือที่รู้กันกันโดยทั่วไปว่า "ไบโอฟีดแบ็ค” ได้แก่ การใช้วิธีการผ่อนคลายความเครียดเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมปรากฏการณ์ผิดปกติทางสรีระร่างกายต่าง เช่น การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต คลื่นสมองและอุณหภูมิในร่างกาย

 

ไบโอฟีดแบ็คนี้สามารถนำไปให้ผู้ป่วยใช้เพื่อพิชิตโรคได้นานาชนิด รวมทั้งโรคปวดศีรษะข้างเดียว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดปกติ  ตลอดจนลมบ้าหมู

 

ไบโอฟีดแบ็คจะเป็นผลขึ้นมาได้นั้นต้องอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกปะดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เครื่องมือที่ว่านี้จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลทางชีวภาพจากผู้ป่วยแล้วป้อนข้อมูลนั้นๆกลับคืนสู่ผู้ป่วยอีกทีหนึ่ง ในรูปของสัญญาณแสงหรือสัญญาณเสียงที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นหรือได้ยินได้

 

ตัวอย่างเช่น รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อแล้วส่งสัญญาณเป็นแสงหรือเป็นเสียงไปให้ผู้ป่วยได้รับรู้ ก่อนอื่นผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องสัญญาณที่ว่านี้เสียก่อน จากนั้นก็ทดลองหาวิธีการควบคุมสิ่งที่ไปกระตุ้นให้เกิดแสงหรือเสียงนั้นๆขึ้นมา

 

จากการได้รับข้อมูลที่ถูกป้อนกลับมาให้อย่างต่อเนื่องนี้เองก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายของตนได้

 

เมื่อได้ฝึกฝนเทคนิคการควบคุมอย่างนี้ได้อย่างชำนิชำนาญแล้ว ขั้นตอนต่อไปผู้ป่วยก็จะได้รับการฝึกสอนในเรื่องยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ การใช้เทคนิคการควบคุมที่ว่านี้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

 

กรรมวิธีไบโอฟีดแบ็คสามารถให้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับสาเหตุของความเครียดได้ อย่างเช่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกประหลาดใจที่ได้พบว่ามีตัวแปรหลายอย่างเหลือเกินที่ไปมีอิทธิพลเหนือการเต้นของหัวใจ

 

ในตอนแรกๆเมื่อมองดูคลื่นหัวใจตามที่ปรากฏอยู่บนเครื่องมือสำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(เครื่องอิเล็กโทรคาร์ดิโอกราฟ)นั้น ผู้ป่วยอาจจะคิดไปว่ามันเต้นของมันเรื่อยเปื่อยโยไม่มีอะไรไปบงการ แต่หากสังเกตไปเรื่อยๆก็จะรู้ได้ว่าหัวใจมีการสนองตอบต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย แม้ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะแผ่วเบาก็ตาม

 

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหายใจเข้าลึกๆก็จะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ตอไปผู้ป่วยก็จะเริ่มเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่า แม้แต่เพียงความนึกคิดเท่านั้นก็มีอิทธิพลเหนือการเต้นของหัวใจได้

 

ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เรานึกถึงวันหยุดพักผ่อนหัวใจจะเต้นช้างลง แต่พอนึกถึงเรื่องเครียดๆ เช่น วันกำหนดเส้นตายของงานหรือเรื่องทะเลาะกับเพื่อนหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น อย่างนี้เป็นต้น

 

และในที่สุดเมื่อได้ฝึกกรรมวิธีไบโอฟีดแบ็คให้ชำนิชำนาญมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยก็ได้ความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีกว่า จิตและร่างกายมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงถึงกัน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะเริ่มรู้ว่า เมื่อส่งกระแสความรู้สึกอบอุ่นและหนักแน่นเข้าไปจะไปทำให้หัวใจเต้นช้าลง หรือนัยตรงกันข้ามเมื่อส่งกระแสความรู้สึกเย็นไปที่บริเวณเดียวกันนั้น ความรู้สึกใหม่นี้ก็จะไปทำให้หัวใจเต้นเร็วยิ่งขึ้น

 

เมื่อเกิดการเรียนรู้ถึงระดับเช่นว่านี้แล้วผู้ป่วยก็พร้อมที่จะใช้ความรู้สึกเหล่านี้ไปควบคุมหรือบงการให้ร่างกายแสดงปฏิกิริยาต่อความเครียดในรูปแบบใดๆก็ได้

 

ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่า การที่จะฝึกไบโอฟีดแบ็คได้สำเร็จนั้นผู้ฝึกต้องฝึกทำจิตให้สงบและต้องมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้มาคอยแนะนำอยู่อย่างต่อเนื่อง

 

ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้บอกด้วยว่า ด้วยการทำจิตให้สงบนี้เท่านั้นจึงจะช่วยให้ผู้ฝึกสามารถเรียนรู้วิธีที่จะตอบสนองต่อความเครียดได้อย่างแท้จริง

 

และเมื่อมีความเชี่ยวชาญในกระบวนการของไบโอฟีดแบ็คนี้แล้วผู้ฝึกก็จะสามารถนำไปใช้เพื่อคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายได้ทั้งหมด

 

กลวิธีคลายเครียด

 

เมื่อพิจารณาให้ดีก็จะเห็นได้ว่า กรรมวิธีไบโอฟีดแบ็คนี้มีลักษณะเหมือนกับโยค และการทำสมาธิของชาวตะวันออก กล่าวคือ ในเวลาฝึกสมาธินนั้นจิตของผู้ฝึกจะไปจดจ่ออยู่ภายใน ซื่งอาจจะเป็นถ้อยคำหรือมนตราอย่งใดอย่างหนึ่ง หรือไม่เช่นนั้นก็เอาจิตไปผูกไว้กับลมหายใจ

 

ทั้งร่างกายและจิตใจจะถูกถอดถอนออกไปจากสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าจากภายนอก กุญแจที่จะไขไปสู่ความสำเร็จในการฝึกสมาธิเป็นกุญแจดอกเดียวกับที่จะใช้ไขไปสู่ความสำเร็จในการฝึกไบโอฟีดแบ็ค กล่าวคือ การขจัดความวิตกกังวล ความเครียดและความคิดในแง่ไม่ดีทั้งหลายที่มากลุ้มรุมจิตใจนั้นเสียให้หมดสิ้น

 

ในที่สุดจิตใจก็จะก้าวขึ้นสู่สภาวะดื่มด่ำแน่วแน่หรือที่ในทางตะวันตกเรียกว่าสภาวะอัลฟา(alpha) เมื่อถึงจุดนี้แล้วหากใช้เครื่องมือสำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง(เครื่องอิเล็กโทรเอ็นซีฟาโลกราฟ) ลองัดดูก็จะพบว่าคลื่นสมองมีอัตราการหมุนเวียนลดลงเหลือแค่ 8-12 ไซเกิ้ลต่อวินาทีเท่านั้นเอง

การฝึกสมาธิอำนวยประโยชน์หลายอย่างแก่ร่างกาย กล่าวคือ สามารถช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับการเต้นของชีพจร ลดระดับฮอร์โมนเครียดในเลือด และช่วยระงับความเจ็บปวดต่างๆในร่างกาย

 

ยิ่งไปกว่านั้นพวกนักวิจัยก็กำลังวิจัยถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้สมาธิหรือกรรมวิธีคลายเครียดต่างๆแทนการใช้สารอินซูลินให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ตลอดจนใช้เพื่อไปช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดสำคัญๆของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ป่วย

 

กรรมวิธีคลายเครียดอีกอย่างหนึ่งที่เคยพิสูจน์กันมาแล้วว่ามีประโยชน์ในการกำจัดหรือช่วยลดผลกระทบที่มีอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายอันสืบเนื่องมาจากความเครียด นั่นก็คือ กรรมวิธีที่เรียกกันว่า”โพรเกรสสิฟ รีแล็กเซชั่น(Progressive relaxation)

 

คนที่เป็นต้นคิดกรรมวิธีนี้คือนายเอ็ดมันค์ จาค็อบสัน จิตแพทย์แห่งมหาวิทยาลัย ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้คิดเรื่องนี้ขึ้นเมื่อช่วงทศวรรษหลังปี 1930

 

นายเอ็ดมันด์ได้สังเกตเห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าในช่วงเวลาที่คนเราเกิดความเครียดขึ้นมานั้น กล้ามเนื้อส่วนต่างๆจะเกิดอาการตึงตามไปด้วย

 

เขาจึงได้คิดค้นวิธีการที่จะไปช่วยให้กล้ามเนื้อต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อที่แขนและที่คอเป็นต้น คลายอาการตึงตัวลง และจากกรรมวิธีนี้ก็จะช่วยให้(ป่วยกำหนดรู้ได้ล่วงหน้าว่าเมื่อใดจะเกิดความเครียดขึ้นมาแล้วจะได้หาทางสกัดความเครียดนั้นด้วยการคลายกล้ามเนื้อตรงจุดต่างๆซึ่งในที่สุดความเครียดนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น

 

กรรมวิธีคลายเครียดอย่างต่อมาถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อทศวรรษหลังปี 1920 โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ เจ.เอช. สคัลตซ์ เป็นกรรมวิธีผสมผสานระหว่างวิธีพูดชี้นำตนเองของฝ่ายตะวันตกกับวิธีการแบบโยคะของฝ่ายตะวันออก

 

ตามกรรมวิธีผสมผสานของสองฝ่ายด้วยกันที่ว่านี้ ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกฝนให้จิตสงบแน่วแน่และให้ท่องบ่นภาวนาประโยคหรือวลีต่างๆที่เห็นว่ามีความสำคัญ เช่น “แขนขวาของข้าพเจ้าหนักหนอๆๆ” หรือ”แขนขวาของข้าพเจ้าอุ่นหนอๆๆๆ” ให้ท่องบ่นภาวนาอยู่เช่นนี้จนกระทั่งมีความรู้สึกหนักหรืออุบอุ่นที่แขนตลอดจนรู้สึกคลายเครียดทั่วทั้งร่างกาย

 

เมื่อได้ฝึกฝนกรรมวิธีคลายเครียดได้อย่างช่ำชองแล้วขั้นตอนต่อไปที่ผู้ป่วยจะพึงกระทำก็คือการทำสมาธิควบคู่ไปกับการสร้างมโนภาพ(visualization) หรือการสร้างภาพทางจินตนาการโยการพูดชี้นำ(guided imagery)

 

การสร้างมโนภาพที่ว่านี้หมายถึงกรรมวิธีกระตุ้นร่างกายให้ไปทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ซึ่งปกติร่างกายจะทำหน้าที่ที่ว่านี้ในระดับจิตใต้สำนึก แต่พอถูกกระตุ้นจากมโนภาพมันก็จะมาทำหน้าที่ในระดับจิตสำนึก

 

เชื่อกันว่ากรรมวิธีนี้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้นั้นเป็นเพราะว่าระบบควบคุมร่างกายถูกหลอกให้เชื่อว่าภาพทางจินตนาการนั้นเป็นเรื่องจริง มันจึงได้ปรับสภาพร่างกายให้เป็นเช่นเดียวกับภาพจินตนาการ

 

ใช้มโนภาพบำราบโรค

 

การใช้มโนภาพบำราบโรคมีปรากฏให้เห็นอยู่ดื่นดาษ อย่างเช่น รายหนึ่งที่เคยนำมากล่าวแล้วข้างต้นนั้น เป็นเด็กหนุ่มที่เป็นโรคมะเร็งในสมอง หมอรักษาบอกว่าต้องตายแน่ๆแต่เขาได้ใช้วิธีการสร้างมโนภาพเป็นเรือรบระดมยิงจรวดเข้าใส่เนื้อร้ายของมะเร็งทุกวันจนในที่สุดเนื้อร้ายได้ถูกทำลายจนหมดสิ้น

 

ส่วนอีกรายหนึ่งเป็นโรคมะเรงในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อแรกรับเข้าโรงพยาบาลมีอาการหมดวังที่จะรอดชีวิต ผ้ป่วยรายนี้มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในรายงานของนายเอลเมอร์ และนางอลีเซ กรีน แห่งคลินิกเมืองเม็นนิงเจอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

ในรายงานบอกว่าแพทย์ผู้รักษาได้ใช้วิธีสะกดจิตผู้ป่วยแล้วสั่งให้ออกค้นหาห้องเก็บลิ้นเปิดปิดในสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเปิดปิดท่อส่งเลือดไปให้ร่างกาย พอผู้ป่วยบอกว่าเจอห้องเก็บลิ้นเปิดปิดนั้นแล้ว แพทย์ก็ได้พูดชี้นำให้ผู้ป่วยเลือกปิดลิ้นตัวที่ควบคุมท่อส่งเลือดไปยังบริเวณกระเพาะปัสสาวะที่เป็นมะเร็งนั้น

 

ปรากฏว่าหลังจากนั้นผู้ป่วยก็มีอาการดีขึ้นมาก จนแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ เพียงแต่ว่าต้องกลับไปตรวจร่างกายเป็นระยะๆและในการตรวจครั้งหนึ่งเกิดอุบัติเหตุเครื่องมือแพทย์ไปโดนตรงจุดใดไม่แน่ชัดเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เมื่อผ่าศพพิสูจน์ก็ได้พบว่าเนื้อร้ายมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะมีขนาดลดลงมาจากเดิมมากมาย คือ เดิมมีขนาดเท่าลูกกอล์ฟได้ลดลงมาเหลือเท่าผลองุ่นเท่านั้นเอง

 

นอกจากนี้แล้วก็ยังมีคนป่วยเป็นโรคมะเร็งอีกหลายรายที่ใช้วิธีสร้างภาพทางจินตนาการให้แลเห็นเซลล์มะเร็งเนื้อร้ายในร่างกายของตน

 

จากนั้นได้จินตนาการต่อไปให้แลเห็นเซลล์มะเร็งเหล่านี้ถูกล้อมกรอบและกลุ้มรุมทำร้ายจากเซลล์ต่างๆของระบบภูมิคุ้มกัน

 

บางรายได้สร้างสรรค์ภาพทางจินตนาการในรูปแบบแปลกๆ อย่างเช่นรายของนักแสดงสาวชื่อกิลดา แรดเนอร์ ป่วยเป็นมะเร็งที่รังไข่ เธอได้ใช้วิธีสร้างภาพทางจินตนาการแบบแปลกๆหลายอย่างเพื่อให้มาปราบเนื้อร้ายมะเร็ง เช่น แบบหนึ่งเป็นภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซท์ (lymphocytes)กำลังกระโดดโลดเต้นร้องรำทำเพลงด้วยความยินดีปรีดาว่า”ดิงดองๆเอ๋ยดีใจจังๆ ไอ้มะเร็งผีกระหังมันตายไปแล้ว”

 

ส่วนอีกแบบหนึ่งเธอได้สร้างภาพทางจินตนาการให้แลเห็นเซลล์มะเร็งเป็นพวกสิงห์มอเตอร์ไซค์ซึ่งมีนิสัยชอบทิ้งกระป๋องเบียร์และก้นบุหรี่เลอะเทอะชายหาดคือร่างกายของเธอ

 

จากนั้นเธอก็ได้สร้างภาพทางจินตนาการต่อไปให้แลเห็นเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซท์เป็นพวกคนอาบแดดซึ่งมีร่างกายกำยำแข็งแรงเกิดความหงุดหงิดรำคาญขึ้นมาเลยพากันยกพวกเข้าขับไล่พวกสิงห์มอเตอร์ไซค์ชั่วร้ายออกไปจากชายหาด

 

จากการวิจัยได้พบว่าภาพจินตนาการอาจไปช่วยเพิ่มปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซท์และเชลล์อื่นๆของระบบภูมิคุ้มกันได้จริง

 

ยกตัวอย่างเช่น จากการวิจัยครั้งหนึ่งที่มลรัฐแมรีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็ง 10 รายหลังจากผ่านการฝึกสร้างภาพทางจินตนาการแล้วหนึ่งปี ผลจากการตรวจสอบปรากฏว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวต่างๆของระบบภูมิคุ้มกันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเซลล์เลือดขาวเหล่านี้ก็ทำหน้าที่โจมตีเนื้อร้ายของมะเร็งกระฉับกระเฉงว่องไวกว่าเมื่อตอนเริ่มทดลองให้สร้างภาพทางจินตนาการต่างๆ

 

ผลของการทดลองปรากฏว่า ภาพจินตนาการได้เข้าไปช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ล่าสังหารทางธรรมชาติ(เซลล์เอ็นเค) ในระบบภูมิคุ้มกัน ในขณะที่คนชรากลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้สร้างภาพจินตนาการมีจำนวนเซลล์ล่าสังหารทางธรรมชาติไม่เพิ่มขึ้นมาเลย

 

นอกจากนี้แล้วภาพทางจินตนาการก็ยังสามาถนำไปใช้ระงับความเจ็บปวดได้ผลอย่างชะงัด เช่น ผู้ป่วยรายหนึ่งถูกหมอพูดขี้นำให้เกิดอาการชาขึ้นที่มือทั้งสองข้าง ทั้งนี้โยให้จินตนาการว่าได้สอดมือทั้งสองข้างเข้าไปในถุงมือหนาๆหรือไม่ก็จินตนาการว่าได้จุ่มมือลงไปในถังน้ำเจือสารละลายยาระงับปวด หลังจากที่มือเกิดชาขึ้นมาจริงๆแล้วหมอก็ให้ผู้ป่วยจินตนาการว่าอาการชาที่มือเลื่อนไหลถ่ายเทไปยังบริเวณที่เกิดความเจ็บปวดในร่างกายอีกทีหนึ่ง


ภาพทางจินตนาการอีกแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ระงับความเจ็บปวดต่างๆได้ คือ ให้จินตนาการเป็นภาพสวิตช์หรี่กระแสไฟฟ้าชนิดรีโอสแตต(Rheostat) โดยให้แลเห็นสายไฟฟ้าข้างหนึ่งต่อไปยังสมอง ส่วนอีกข้างหนึ่งต่อไปที่ร่างกายตรงจุดซึ่งกำลังเจ็บปวด จากนั้นก็จินตนาการว่าเอามือไปค่อยๆปิดสวิตช์ที่ว่านี้ให้หรี่ลงๆซึ่งก็จะส่งผลให้อาการเจ็บปวดหายไปได้ในที่สุด

 

อำนาจจิตคือหมอภายในตัวเราเอง

 

สำหรับปัญหาข้อที่ว่ากรรมวิธีสร้างภาพทางจินตนาการและกรรมวิธีลี้ลับอย่างอื่นๆมีการทำงานจริงๆเป็นอย่างไรและมันมีผลทางการรักษาโรคได้จริงหรือไม่นั้น ยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาค้นคว้าหาคำตอบอีกมาก

 

อย่างไรก็ตามจากหลักฐานต่างๆที่ได้นำมาเสนอไปแล้วนี้ก็ชวนให้เกิดความมั่นใจว่ากรรมวิธีลี้ลับต่างๆเหล่านี้มีผลทางการรักษาได้จริง

 

ด้วยเหตุนี้จึงได้มีแพทย์แผนปัจจุบันหลายรายได้นำเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้ควบคู่กับวิธีการของแพทย์แผนปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นที่เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยในโรงพยาบาลนิวอิงแลนด์ ดีคอเนสส์ ซึ่งป่วยด้วยโรคต่างๆนับตั้งแต่โรคเอดส์เป็นต้น จะถูกกระตุ้นจากแพทย์ให้เข้าร่วมโครงการบำบัดโรคแบบ "ใช้จิตเหนือร่างกาย” ซึ่งจัดขึ้นในโรงพยาบาลนั่นเอง

 

โครงการนี้อยู่ในความอำนวยการของ ดร. เฮอร์เบิร์ต เบ็นสัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจและเป็นแพทย์คนแรกที่ได้ริเริ่มนำเอาเทคนิคคลายเครียดต่างๆมาใช้กับผู้ป่วยในโครงการที่ว่านี้ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกฝนใน "พฤติกรรมบำบัด”(behavioral therapies) ต่างๆ เช่น การคลายความเครียด การสร้างมโนภาพ การรับประทานอาหารตามหมอสั่ง และการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดของตนเองที่มีต่อโรคนั้นๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นกรรมวิธีนอกแบบของแพทย์แผนปัจจุบัน แต่เห็นว่ามีความสำคัญที่จะช่วยบริหารสุขภาพและช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคต่างๆได้

 

อย่างไรก็ดีผู้ทำการวิจัยบำบัดโรคแบบใช้หลัก”จิตเหนือร่างกาย”หลายคนได้ย้ำเตือนว่า กรรมวิธีแบบ”พฤติกรรมบำบัด”ดังกล่าวควรจะใช้ควบคู่กับวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบัน

 

อย่างเช่น ดร.เฮอร์เบิร์ต เบ็นสัน บอกว่า”วิธีการบำบัดโรคโดยถือหลัก จิตเหนือร่างกาย นี้ไม่ควรใช้แทนยาเพ็นนิซิลลิน การผ่าตัด หรือยาดิจิตัลลิส(ยาบำรุงหัวใจและขับปัสสาวะ) แพทย์คนใดเอาเรื่องแบบนี้มาใช้แทนยา หรือแทนหลักการบำบัดรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันอย่างอื่นๆแพทย์คนนั้นก็บ้าเต็มที”

 

ชาติต่างๆทุกวันนี้ได้นำเอากรรมวิธีรักษาโรคแบบทางเลือกใหม่ดังกล่าวเข้าไปผสมผสานอยู่ในระบบรักษาโรคแผนปัจจุบันของตนกันบ้างแล้ว อย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้มีการใช้กรรมวิธีแบบโฮมีโอพาที(homeopathy) และกรรมวิธีแบบอโรมาทีรัปปี(aromatherapy) ส่วนในประเทศเยอรมนีตามโรงพยาบาลต่างๆมีการใช้กรรมวิธีแบบ ไฮโดรทีรัปปี(hydrotherapy) สมุนไพรและการอาบโคลน ผสานไปกับกรรมวิธแบบโฮมีโอพาที

 

แต่สำหรับผู้ที่ยังติดยึดตามตำราแพทย์แผนปัจจุบันก็จงจะทำใจให้เชื่อได้ยากว่า กรรมวิธีบำบัดโรคแบบทางเลือกใหม่เหล่านี้จะช่วยบำบัดโรคและซ่อมแซมสิ่งบกพร่องหรือชำรุดเสียหายในร่างกายของผู้ป่วยได้

 

แต่จากแหล่งข้อมูลทางสถิติที่จดบันทึกไว้โย ดร.เคอร์ แอล. ไวท์ อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข ของมุ,นิธิรอกกีเฟลเลอร์ ระบุไว้ว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปได้

 

ในคำนำของหนังสือชื่อMedicine & Cultureซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1988 ดร.เคอร์ได้เขียนไว้ว่า”จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บอกว่า การบำบัดทางยาและกรรมวิธีอื่นๆตามแบบฉบับของแพทย์แผนสมัยใหม่ช่วยให้คนป่วยมีโอกาสหายจากโรคแค่ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ส่วนที่เหลืออีก 40-60 เปอร์เซ็นต์หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้ก็เพราะได้รับผลเกื้อกูลจากการเอาอกเอาใจและการเอาใจใส่ดูแลหรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าความรักนั่นเอง

 

ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า วิถีชีวิตของมนุษย์ทุกวันนี้มีความสลับซับซ้อนต้องพึ่งพาอาศัยและให้การสนับสนุนเกื้อกูลกัน ทั้งในระดับสังคมและระดับปัจเจกบุคคล

 

มนุษย์ทุกวันนี้สามารถเรียนรู้วิธีการต่างๆที่จะดึงเอาคุณสมบัติและสมรรถภาพต่างๆในตัวออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บของตัวเอง

 

แต่โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพอนามัยนั้นมนุษย์ควรจะเลือกเฟ้นแนวทางที่จะเอื้อประโยชน์สูงสุดในการบำบัดรักษา แนวทางที่ว่านี้ได้แก่แนวทางที่ใช้วิธีผสมผสานกลยุทธ์ต่างๆเข้าด้วยกัน ได้แก่ การมีเพื่อนสนิทมิตรสหายคอยสนับสนุนให้กำลังใจ ผู้ป่วยเองก็ต้องร่วมมือกับแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างเต็มที่และมีจิตใจมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะเอาชนะโรคนั้นๆให้ได้

 

ประเด็นต่างๆที่ว่ามานี้มีความสอดคล้องกับที่อัลเบิร์ต ชเวตเซอร์ (Albert Schweitzer)นายแพทย์และนักสิทธิมนุษยชนเลื่องชื่อได้เคยกล่าวไว้ว่า:

 

“หมอผีประสบความสำเร็จในการรักษาโรคด้วยเหตุผลเดียวกับที่หมอแผนปัจจุบันอย่างพวกเราประสบความสำเร็จ คือ ผู้ป่วยทุกคนมีหมอประจำตัวอยู่ข้างใน พวกเราเองจึงน่าจะใช้มันให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยเปิดโอกาสให้หมอที่อยู่ข้างในตัวผู้ป่วยแต่ละรายได้ออกมาทำหน้าที่ของเขาบ้าง”.

 

Google

Custom Search

Followers